แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำทางวิชาการ, ยุคดิจิทัล, ผู้บริหารบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัล และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 93 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
- ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ รองลงมาคือ ด้านการวางแผนงานวิชาการและด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการนิเทศ
- แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลได้แก่ ผู้บริหารต้องเป็นผู้อำนวย
ความสะดวกเรื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ สนับสนุนงบประมาณจัดอบรมสัมมนานำคณะครูศึกษาดูงานสถานศึกษาต้นแบบเทคโนโลยีเพื่อมาใช้ในการพัฒนางานวิชาการ ยกย่องชมเชยครูที่ประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีการใช้ในการจัดการเรียนการสอน ต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลครูและบุคลากรในโรงเรียน รวมถึงข้อมูลของนักเรียนอัพเดตลงไปในเว็บไซต์หรือในช่องทางการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายและสะดวก และต้องมีการอัพเดตข้อมูลให้ทันสมัยและถูกต้องอยู่เสมอ มีครูควบคุมดูแลระบบเพื่อไม่ให้เกิดการแสดงความคิดเห็นหรือการนำข้อมูลไปใช้ในทางผิดกฎหมาย มีการสังเกตจากแผนการสอนและสื่อการสอนของครูต้องมีการเดินสังเกตการสอนของครูผู้สอนแต่ละคนสอบถามจากครูข้างห้องหรือครูหัวหน้าสาระ และควรมีการจัดจุดบริการอินเทอร์เน็ตเพื่อการสืบค้นข้อมูลของทุกอาคารเรียนและต้องจัดหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนรู้ของนักเรียนให้เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียนและควรมีการสร้างบรรยากาศสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน
คำสำคัญ : ภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัล ผู้บริหาร
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกตุสุดา กิ้งการจร. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 สระบุรี. ในวิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต
สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จันทนา แสนสุข. (2559). ปัจจัยที่เป็นเหตุและผลของความสามารถภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของ
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 34-46.
บุญชม ศรีสะอาด และสุริทอง ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา.
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
พิพัฒน์พงษ์ วิเศษ. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผล
การบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร
เขต 3. วิทยานิพนธ์ปครุศาสตรมหาบัณฑิด สาขาวิชาการบริหารการศึกษา สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
มณีรัตน์ สุดเต้. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในยุคดิจิทัลของผู้บริหาร
สถานศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
การบริหารการศึกษา คณะครูศาสตร์ อุตรดิษถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพ :จุฬาลงกรณ์บหาวิทยาลัย.
สุขฤทัย จันทร์ทรงกรด. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดจันทบุรี
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17 ในวิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี
สืบค้น 9 มิถุนายน 2565 จาก https://www.sesaonk.go.th//page_id=11998
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนา
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศฺก์ กรุงเทพฯ : สำนักพิมพคณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.
อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557). การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21 : ผลผลิตและแนวทางการพัฒนา. วารสาร
มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.8,12-13
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคติจิทัล (School Management in Digital Era).
สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562. https://www.trueplookpanya.com.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-02-05 (2)
- 2022-12-27 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน