การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน กลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

ผู้แต่ง

  • อุไรพร นครธรรม

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการสภาพแวดล้อม, การเรียนรู้ของนักเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม และแนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน กลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 จำนวน 52 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 42 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง (Index of item objective congruence) ระหว่าง 0.67 – 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน กลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก  ( = 4.41, S.D. = 0.51) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารจัดการ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านภูมิทัศน์ 2. แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน กลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 ด้านการบริหารจัดการ  ผู้บริหารสถานศึกษาควรกำหนดบทบาทบุคลากรให้มีความชัดเจน ด้านความปลอดภัย ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดการสิ่งที่อาจทำให้เป็นภัยแก่นักเรียน ด้านอาคารสถานที่ ผู้บริหารสถานศึกษามีการบำรุงรักษาอาคารสถานที่ ด้านการเรียนการสอน ผู้บริหารสถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูทำวิจัยในชั้นเรียน ด้านภูมิทัศน์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรบำรุงรักษาภูมิทัศน์ในโรงเรียน

References

กมลสรรค์ บุญกว้าง. (2550). การจัดการสภาพแวดล้อมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ณิศศา ณภาส์ณัฐ. (2558). สภาพแวดล้อมสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองกาญจนบุรี. ภาคนิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.

ดวงสุดา บุรเนตร. (2554). การบริหารสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8. ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลับราชภัฏกาญจนบุรี.

นภาพร อดิศักดิ์. (2555). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนชุมชนบ้านหนองปรือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรีเขต 3. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เบญญาภา คงมาลัย. (2551). ความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรูู้้ต่อการจดสภาพแวดล้อมทางการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรรณบุรี เขต 1 ปีการศึกษา 2550. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์น.

พิชญ์สุดา เกณเชี่ยวชาญ. (2561). การศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเทศบาล 1 บ้านกนองซากแง้ว สังกัดเทศบาลตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมนึก สุระกุล. (2549). ศึกษาการจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

เหนียว ศีลาวงศ์. (2551). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสําหรับคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อารียา สดารัตน์. (2556). การจัดสภาพแวดล้อมในสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตราชเทวี. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26