การบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารโรงเรียน, ทักษะนักเรียนศตวรรษที่ 21, แนวทางการพัฒนาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 2. ศึกษาระดับทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21 และ 3. ศึกษาแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 จำนวน 7 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร จำนวน 7 คน และครูจำนวน 28 คน รวมเป็น 35 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติ เครื่องมือ คือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 47 ข้อ มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพการบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ระดับทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายศรีเชียงใหม่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนเพื่อพัฒนาทักษะนักเรียนในศตวรรษที่ 21 การบริหารด้านงานวิชาการ ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูพัฒนาสื่อการสอน จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้านงานงบประมาณ ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนการใช้งบประมาณต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จัดทำโครงการเพื่อระดมทุนสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ด้านงานบุคคล ผู้บริหารร่วมทำมาตรฐานงาน ประเมินคุณภาพการบริหารงานบุคคล ส่งเสริมสนับสนุนยกย่องให้เกียรติครูในโรงเรียน และด้านงานบริหารงานทั่วไป ผู้บริหารส่งเสริมสนับสนุนงานธุรการ การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาบริหารและพัฒนาการศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกรียงไกร ธุระพันธ์. (2558). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
ณัฐนิช ศรีลาคำ. (2557). การบริหารงานบุคคลในโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
นิตย์ธิดา จันดาสงค์. (2558). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนบ่อทอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. งานนิพนธ์ กศ.ม. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิจารณ์ พาณิช. (2555). ทักษะเพื่อการดำรงชีวิตในศตวรรษที่ 21. ในวรรณา เลิศวิจิตรจรัส, สงวนศรี ตรีเทพประติมา (บรรณาธิการ). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ตถาตา.
วีระศักดิ์ ศรีอุดร. (2555). การศึกษาสภาพการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ . วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
สรารักษ์ ศิริพงษ์. (2559). การศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
เสาวภาค พงษา. (2554). สภาพการบริหารงานทั่วไปในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
อุมารินทร์ น้อมบุญญา. (2559). การบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์. กาญจนบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน