แนวทางการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในชุมชนเมือง เปรียบเทียบกับชุมชนชนบท เขตสุขภาพที่ 10
แนวทางการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในชุมชนเมือง เปรียบเทียบกับชุมชนชนบท เขตสุขภาพที่ 10
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, การควบคุมการระบาด, โรคโควิด-19บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ของโรคโควิค-19 ในชุมชนเมือง และชุมชนชนบท 2) เปรียบเทียบแนวทางการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ของโรคโควิค-19 ในชุมชนเมือง กับชุมชนชนบท เขตสุขภาพที่ 10 3) เพื่อสร้างข้อเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการระบาดของโรคโควิค-19 ในกรณีการระบาดในชุมชนเมือง และชุมชนชนบท เขตสุขภาพที่ 10 ศึกษาระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2564 กลุ่มเป้าหมาย เป็นเหตุการณ์ระบาดกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 20 รายขึ้นไป จากสถานการณ์การระบาดในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 10 พบการระบาดเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ที่มีผู้ติดเชื้อมากกว่า 20 ราย จำนวน 4 เหตุการณ์ (Cluster) เป็นการระบาดในชุมชนเมือง 1 เหตุการณ์ และในชุมชนชนบท 3 เหตุการณ์ ปัจจัยการระบาดในชุมชนเมืองเกิดจากการไปเที่ยวสถานบันเทิง ส่วนในชุมชนชนบทเป็นการระบาดในวงครอบครัวที่ผู้ติดเชื้อเดินทางกลับมาจากพื้นที่เสี่ยงเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งยังพบว่ามีการไปรวมกลุ่มทำกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย (วงพนัน) การไปซื้อของในร้านค้าที่มีผู้ติดเชื้อ การพบปะสังสรรค์และการรับประทานอาหารร่วมกันในหมู่ญาติ เป็นต้น ด้านการบริหารจัดการเพื่อควบคุมการระบาดในชุมชนเมืองเมื่อเปรียบเทียบกับชุมชนชนบท พบว่า การบริหารจัดการในชุมชนเมืองมีรูปแบบที่เป็นทางการมีการประสานงานหลายภาคส่วน การเข้าถึงกลุ่มเสี่ยงอาจเป็นไปได้ยากกว่าในชุมชนชนบท ความพร้อมด้านกำลังคน วัสดุอุปกรณ์และระบบการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินในเขตชุมชนเมืองมีความพร้อมมากกว่าในชุมชนชนบท ในขณะที่ชุมชนชนบทมีจุดเด่นในเรื่องของการทำงานที่มีรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ สามารถดำเนินการได้โดยอาศัยสัมพันธภาพในชุมชน ทำให้เข้าถึงกลุ่มเสี่ยงได้ง่ายและได้รับความร่วมมือมากกว่าชุมชนเมือง ดังนั้นเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิค-19 ให้มีประสิทธิภาพทั้งในชุมชนเมืองและชุมชนชนบท ควรเพิ่มสมรรถนะของบุคลากรและหน่วยปฏิบัติการควบคุมโรคติดต่อในทุกระดับ ให้สามารถสับเปลี่ยนหมุนเวียนอัตรากำลังได้ในภาวะฉุกเฉิน มีแนวทางการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีการพัฒนา EOC ในระดับอำเภอให้มีความพร้อม ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด มีการพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนบริหารทรัพยากรอย่างเพียงพอ และการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคเชิงรุก การสื่อสารความเสี่ยง และการสร้างความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนเพื่อให้การควบคุมโรคเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน