การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของศูนย์เครือข่ายกุดบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
การบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของศูนย์เครือข่ายกุดบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
คำสำคัญ:
บริหารงานวิชาการ, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพของการบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21
2) ระดับทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะ
การเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ศูนย์เครือข่ายกุดบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สกลนคร เขต 1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนจำนวน 14 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร จำนวน 14
คน และครู จำนวน 53 คน รวมจำนวน 67 คน เลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ
แบบสอบถาม มีค่า IOC ตั้งแต่ 0.67 – 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์เชิงเนื้อหาและใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารงานวิชาการในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) แนวทางการบริหาร งานวิชาการเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน
ในศตวรรษที่ 21 ศูนย์เครือข่ายกุดบาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ด้านการบริหารงาน
วิชาการควรจัดอบรมให้ครูมีความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนการวัดและประเมินผล จัดสื่อการเรียน
การสอนให้เพียงพอและทันสมัย มีการนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่องและตรงกับความต้องการพัฒนาของ
สถานศึกษา ด้านทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 นั้นครูต้องจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้วางแผน
รู้จักคิดวเิ คราะห์ แก้ปัญหา สรุปองค์รวมความรู้ และการนำไปใช้ จัดอบรมให้ครูได้มีความรู้เกี่ยวกับส่อื และ
เทคโนโลยี จัดอบรมคุณธรรมให้นักเรียนในรูปแบบของค่ายคุณธรรม และบูรณาการในกลุ่มสาระต่าง ๆ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-02-05 (2)
- 2022-05-11 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน