แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2

ผู้แต่ง

  • ณัฐกรณ์ จิตต์ผล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี
  • อมรทิพย์ เจริญผล สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชธานี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนและ2) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล จำนวน 297 คน ได้มาโดยสุ่มแบบหลายขั้นตอน ได้แก่ สุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนจำนวนของกลุ่มครู และการสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา ผู้วิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการนิเทศการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการวัดผลประเมินผลและการวิจัย และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนที่ต้องได้รับการพัฒนา 3 อันดับแรก ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูจัดการเรียนรู้อย่างหลากหลายสอดคล้องกับสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม เชื้อชาติ ศาสนา วิถีชีวิต ความคิดและวิถีปฏิบัติของกลุ่มชนในสังคมนั้น ๆ รองลงมา คือ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ผู้บริหารควรมีการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยใช้หลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นมาบูรณาการ และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ผู้บริหารควรมีการจัดตั้งและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนที่เอื้อต่อการสร้างองค์ความรู้ของผู้เรียน เช่น ห้องสมุดออนไลน์ในชุมชน เป็นต้น

References

กมลพร กลมเกลี้ยง. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในอำเภอสอยดาวสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิตนิภา เสนาฤทธิ์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูโรงเรียนในศูนย์เครือข่ายเกาะช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมลวรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (เมยายน 2553) "หลักเกณฑ์และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา," วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่3) พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุมนา ศรีกงพาน. (2560). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 2. (2565). “แผนพัฒนาการศึกษา 2565-2568”. อัดสำเนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-10-23