แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
แนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
คำสำคัญ:
การบริหารงานพัสดุ, ผู้บริหารโรงเรียนบทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และแนวทางพัฒนาการบริหารงานพัสดุ
ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูล
จำนวน 288 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อย
ละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพการบริหารงาน
พัสดุของโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากท่สี ุด คือ ด้านการเก็บ การบันทึก และการ
เบิกจ่าย รองลงมาคือ ด้านการยืม ด้านการจำหน่ายพัสดุ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการ
บำรุงรักษา และการตรวจสอบ 2. ปัญหาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียน เรียงลำดับค่าความถี่จากมากไป
หาน้อย ได้แก่ การเก็บการบันทึก การเบิกจ่ายแต่ละครั้ง มีการปฏิบัติตามระเบียบพัสดุไม่เคร่งครัด การ
ติดตามทวงพัสดุที่ให้ยืมไม่คืนตามครบกำหนด ไม่มีการจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการบำรุงรักษา พัสดุ
ครุภัณฑ์กับบุคลากรในโรงเรียน และผู้บริหารสถานศึกษาขาดการสนับสนุนส่งเสริมผู้ปฏิบัติงานพัสดุได้
เพิ่มพูนความรู้ความสามารถเพื่อให้ทราบแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจำหน่ายพัสดุ ตามลำดับ 3. แนวทาง
พัฒนาการบริหารงานพัสดุของโรงเรียน เรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ เห็นควรตรวจสอบ
ครุภัณฑ์เป็นประจำและทำการซ่อมแซม บำรุงรักษาก่อนใช้งาน และควรลงบัญชีหรือลงทะเบียนต่าง ๆให้เป็น
ปัจจุบัน จัดระบบสารสนเทศทะเบียนคุมวัสดุครุภัณฑ์เป็นปัจจุบัน จัดหาสถานที่ในการจัดเก็บครุภัณฑ์ที่
เส่อื มสภาพไม่สามารถใช้งานได้และจำหน่ายในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงให้บุคลากรที่ปฎิบัติงานด้านพัสดุ
ได้รับการอบรมพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบพัสดุ ตามลำดับ
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-02-05 (2)
- 2022-05-11 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน