ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษา ครูบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัล และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำ ยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร ทั้ง 5 ด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 315 คน ได้มาโดยวิธีเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย ตามสัดส่วนจำนวนครูตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การเป็นผู้นำด้านวิสัยทัศน์ รองลงมาคือ ด้านการเป็นพลเมืองยุคดิจิทัล และด้านความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน เรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีสมรรถนะด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ควรกำหนดนโยบายออกคำสั่งกระตุ้นให้ครูได้ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจนเป็นปกติในการจัดการเรียนการสอนและระบบการปฏิบัติงานที่มีความกระชับคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ ควรมุ่งเน้นให้ครูและบุคลากรได้เห็นความสำคัญและประโยชน์ของเทคโนโลยีมีส่วนร่วมในการใช้เทคโนโลยีในการติดต่อสื่อสารและการปฏิบัติงานร่วมกันผ่านอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัยกับสถานการณ์ และควรปฏิบัติตนเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้เทคโนโลยีสร้างความตระหนักให้ครูและผู้เรียนได้เห็นถึงประโยชน์และโทษของการใช้เทคโนโลยีที่ผิดกฎหมายและจริยธรรม ตามลำดับ
References
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา
กลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดีสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี.
วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. สุพรรณบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จันทนา แสนสุข. (2559). ภาวะผู้นำ Leadership. ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. มหาวิทยาลัย
ราชภัฏอุบลราชธานี.
ณัฎฐณิชา พรปทุมชัยกิจ. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. สารนิพนธ์ ศม.ษ. ศรีสะเกษ : มหาวิทยาลัย
ราชภัฎศรีสะเกษ.
ดวงเดือน ตั้งประเสริฐ. (2557). การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีสารสนเทศและ
การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา.
วิทยานิพนธ์ ค.ม. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
เลอศักดิ์ ตามา. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบ
ประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 22. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศษ.ม. นครพนม : มหาวิทยาลัยนครพนม.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร. (2564). แผนปฎิบัติการประจำปี2564. สกลนคร :
กลุ่มบริหารงานบุคคล สพม.สกลนคร ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). “นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ. 2562”. https://www.obec.go.th. 6 สิงหาคม 2562.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแหงชาติ พ.ศ.2560 - 2579. กรุงเทพฯ :
พริกหวานกราฟฟค.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2558). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี : การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนใน
ศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 16 ฉบับที่ 4 เดือนตุลาคม -
ธันวาคม.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
สุรีรัตน์ รอดพ้น. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 1. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ศษ.ม.
อุบลราชธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2564, จาก
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232/-edu-t2s1-t2-t2s3-
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-02-05 (2)
- 2022-08-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน