ภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี

ภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • วารุณี อินทะสร้อย Educational Administration Education Program Ratchathani University, Udonthani Campus

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำด้านวิชาการ, ผู้บริหารสถานศึกษา, ครู

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี และ2) ศึกษาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ทั้ง 7 ด้าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 127 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงตรง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (  ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านการนิเทศการศึกษา รองลงมาคือ ด้านการวัดผลประเมินผลและการวิจัย และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการจัดการเรียนรู้ 2. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน เรียงลำดับค่าความถี่จากมากไปหาน้อย ได้แก่ สถานศึกษาควรมีการระดมสมองในการจัดทำแผนการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ใช้ในการเรียนการสอนให้ทันสมัยเสมอหรือทุกระยะจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมทั้งสาธารณูปโภคบริเวณสถานศึกษา ห้องเรียนหรือห้องกิจกรรมทางวิชาการให้กับผู้เรียน และการนิเทศควรมีเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลในการดำเนินกิจกรรม/โครงการชัดเจน

References

กนกอร สมปราชญ์. (2560). ศึกษาภาวะผู้นำการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน:

การศึกษาทฤษฎีฐานราก. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์.

กมลพร กลมเกลี้ยง. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูใน

อำเภอสอยดาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 2.

งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,คณะศึกษาศาสตร์,

มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิตนิภา เสนาฤทธิ์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครู

โรงเรียนในศูนย์เครือข่ายเกาะช้าง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมลวรรณ เพชรสมบัติ. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารศูนย์การศึกษานอก

ระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย อำเภอสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น.

พัชรนันทน์ ลอยเมืองกลาง. (2563). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย. สารนิพนธ์ ศษ.ม. อุดรธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

วันเผด็จ มีชัย. (2554). ภาวะผูนําทางวิชาการที่สงผลตอการบริหารวิชาการในโรงเรียน สังกัดองค

การบริหารสวนจังหวัดขอนแกน. วิทยานิพนธศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : มหาวิทยาลัยขอนแกน.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (เมยายน 2553). หลักเกณฑ์

และวิธีการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาก่อนแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง

ผู้อำนวยการสถานศึกษา," วารสารข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ 12”. กรุงเทพฯ : 2560-2564.

สุมนา ศรีกงพาน. (2560). การศึกษาบทบาทภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐานในจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี. (2564). “แผนพัฒนาการศึกษา 2561-2564”. อัดสำเนา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-28 — Updated on 2023-02-05

Versions