การสนับสนุนจากองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร
การสนับสนุนจากองค์การและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การสนับสนุนจากองค์การ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการสนับสนุนจากองค์การ คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรสังกัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร จำนวน 216 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ พบว่า 1) สนับสนุนจากองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การสนับสนุนจากองค์การด้านการสนับสนุนจากหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา (β=.620) มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายได้ว่าองค์ประกอบดังกล่าวสามารถพยากรณ์ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 33.80 (Adjusted R2=.338) 3) คุณภาพชีวิตการทำงาน ด้านสิทธิส่วนบุคคลในสถานที่ทำงาน (β=.279) ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานที่สะดวกและปลอดภัย (β=.217) ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน (β=.200) ด้านการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน (β=.169) ด้านความสมดุลระหว่างภาระงานกับชีวิตส่วนตัว (β=.158) ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม (β=.147) และด้านโอกาสความก้าวหน้าและพัฒนาความสามารถ (β=.132) มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อธิบายได้ว่าองค์ประกอบดังกล่าวสามารถร่วมกันพยากรณ์ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร ได้ร้อยละ 61.20 (Adjusted R2=.612)
คำสำคัญ : การสนับสนุนจากองค์การ, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การ
References
กนกวรรณ เต็มโศภินกุล. (2558). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การและความผูกพันต่อองค์การของ
ข้าราชการกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
กัญญา บุดดาจันทร์. (2563). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสาย
สนับสนุน สังกัดโรงพยาบาลนครพนม. วิทยานิพนธ์ รป.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร. (2562). สรุปผลการดำเนินงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัด
สกลนคร. สกลนคร: การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสกลนคร.
ประภาพรรณ พิยะ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทางานกับความผูกพันต่อองค์กร ของ
บุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยพะเยา. ภาคนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา. พะเยา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพะเยา.
ผจญ เฉลิมสาร. (2558). ปัจจัยจูงใจ ปัจจัยค้ำจุน และคุณภาพชีวิตในการทํางานที่ส่งผลต่อความจงรักภักดี
ของผู้ปฏิบัติงานในองค์กร กรณีศึกษาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระปริญญา
มหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พระมหารัฐพงษ์ พรมหากุล. (2563). อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลและคุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อ
ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษากลุ่มที่ 8.
วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ภัทรนันท์ ศิริไทย. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ บุคลากร
วิทยาลัยชุมชนสระแก้ว. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. ชลบุรี: วิทยาลัย
การบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา.
รชยา ภูวดลกิจ. (2559). อิทธิพลของเจนเนอเรชั่นในองค์การ ค่านิยมในการทำงานและการสนับสนุนจาก
องค์การที่มีต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (สำนักงานใหญ่).
วิทยานิพนธ์สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รุ่งอรุณ ศิลป์ประกอบ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทางานกับความผูกพันต่อองค์การ
ของบุคลากรโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ. ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรม
ราชูปถัมภ์.
วิทยา อินทร์สอน. (2559). “แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงงาน
อุตสาหกรรม.” อินดัสเทรียล รีวิว (Industrial technology review), 22 (282), หน้า 103-111.
วิวรรธณี วงศาชโย. (2558). อิทธิพลการรับรู้การสนับสนุนจากหัวหน้างานและการรับรู้การสนับสนุนจาก
องค์กรที่ส่งผลต่อความตั้งใจลาออกผ่านความผูกพันต่อองค์กรด้านจิตใจของพนักงานจ้างเทศบาล
นครนครปฐม. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สรชัย พิศาลบุตร. (2556). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สมภพ เต็งทับทิม. (2559). สิทธิมนุษยชนกับการบริหารการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. รายงานการฝึกอบรม
หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยรัฐธรรมนญู สํานักงานศาล
รัฐธรรมนูญ.
Eisenberger, R., Stinglhamber, F., Vandenberghe, C., Sucharski, I. L. and Rhoades, L. (2002).
“Perceived supervisor support: Contributions to perceived organizational support and employee
retention.” Journal of Applied Psychology, 87, 3. 565-573.
Greenberg, J. and R. A. Baron. (2003). Behavior in Organizations: Understanding and Managing the
Human Side of Work. 5th ed. NJ: Prentice-Hall.
Huse, E.F. and T.G. Cummings. (1985). Organization and Change. Minnesota: West Publishing.
Rhoades, L., and Eisenberger, R. (2002). Perceived Organizational Support. Journal of Applied
Psychology, 87
Steers Richard M. (1977). Antecedents and Outcome of Organizational Commitment. Administrative
Science quarterly.
Steers, R. M. & Porter, L. W. (1983). Motivation and Work Behavior. (3rd ed.). New York: McGraw - Hill.
Walton, Richard E .(1973). Improving the Quality of work Life. Harvard Business Review.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2023-02-05 (2)
- 2022-08-28 (1)
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร เป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน