อิทธิพลของสุขภาพองค์การ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การจัดบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

อิทธิพลของสุขภาพองค์การ และวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผล การจัดบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • รัฐพล สุขประเสริฐ -

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสุขภาพองค์การ วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสุขภาพองค์การ และวัฒนธรรมองค์การ ที่ส่งผลประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จำนวน 253 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) สุขภาพองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง วัฒนธรรมองค์การขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประสิทธิผลการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม โดยภาพรวมอยุ่ในระดับมาก 2) สุขภาพองค์การ ด้านความสมัครสมานสามัคคี มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00 โดยสามารถทำนายระดับประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม ได้ร้อยละ 23.30 (R2Ad=.233) วัฒนธรรมองค์การ ด้านวัฒนธรรมส่วนร่วม ด้านวัฒนธรรมเอกภาพ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านวัฒนธรรมปรับตัว มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสามารถร่วมกันทำนายระดับประสิทธิผลการจัดบริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอพรรณานิคม ได้ร้อยละ 47.00 (R2Ad=.470)

References

กมลลักษณ์ ธนานันต์เมธี. (2558). อิทธิพลของธรรมาภิบาลและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผล

องค์การขององค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี

บัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาองค์การ. นครสวรรค์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (แผนยุทธศาสตร์

การพัฒนาแผนพัฒนาสามปีและแผนดำเนินงาน). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

. (2551). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาแผนพัฒนาสามปีและแผน

ดำเนินงาน). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น.

จิรประภา อัครบวร. (2549). สร้างคนสร้างผลงาน. กรุงเทพฯ: ก. พลพิมพ์.

นพดล ไชยสุระ. (2560). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และธรรมาภิบาลต่อ

ประสิทธิผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2. วิทยานิพนธ์ปรัชญา

ดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.). สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พรอนันต์ แสนศรี. (2563). อิทธิพลของการรับรู้วัฒนธรรมองค์การและธรรมาภิบาล ที่ส่งผลต่อ

ประสิทธิภาพการดำเนินงานของที่ทำการปกครองอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ยศวดี เชื้อวงศ์พรหม. (2563). อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ และวัฒนธรรมองค์การ ที่ส่งผลต่อ

ประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร.

วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วิภาดา คุปตานนท์. (2551). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ส เจริญการพิมพ์.

สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์.

อุษณี มงคลพิทักษ์สุข. (2560). วัฒนธรรมองค์การกับประสิทธิผลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

รายงานการวิจัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก.

Denison, Daniel R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. New York:John

Wiley Publisher.

Hoy , W.K. and Ferguson, J. (1985). A Theoretical Frame work and Exploration of Organizational

Effectiveness in School. Educational Administration Quarterly, 21 (2):121-122.

Hoy, Wayne K. and Forsyth P. B. (1986). Effective Supervision: Theory into Practice. New York: Random

House.

Hoy, Wayne K. and Cecil G, Miskel. (1991). Educational Administration: Theory, Research and Practice.

(2thed.) Mc Graw – Hill International Edition 2001.

Hoy and Miskel, (2013). Educational administration: Theory research and practice. Recherche, 67, 02.

Mile, Matthew B. (1973) "Planned Change and Organization Health: Fingere and Ground. "Educational

Administration and the Behavioral Science: A systems Perspcetip. Boston: Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-28 — Updated on 2023-02-05

Versions