นโยบายสาธารณะกับการศึกษาไทยยุค 4.0

ผู้แต่ง

  • กิตติญากานต์ ดวงภักดีรัมย์ นักศึกษา รป.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

นโยบายสาธารณะ นโยบายการศึกษา การศึกษายุค 4.0 สหวิทยาการ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนะนโยบายสาธารณะกับนโยบายการศึกษาของประเทศไทย โดยเฉพาะนโยบายการศึกษาในยุค 4.0 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนการศึกษา แห่งชาติ 20 ปี ในเชิงของการเป็นนโยบายสาธารณะ ภายใต้บริบททางสังคมโลกาภิวัตน์ ซึ่งการศึกษา เป็นปัจจัยพื้นฐานที่รัฐมีต่อคนในสังคม นโยบายสาธารณะของรัฐทางด้านการศึกษาจึงมีความสำคัญเป็น อย่างมากในการพัฒนาประเทศ นโยบายสาธารณะทางการศึกษาจำเป็นจะต้องคำนึงถึงทุกคนในสังคมว่า เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับนโยบายของรัฐ การพัฒนาประเทศให้เป็น Thailand 4.0 เป็นสังคมที่มี ความก้าวหน้า อีกทั้งการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการศึกษามีลักษณะที่เป็นสหวิทยาการ มีการนำความรู้หลากหลายด้านเข้ามาศึกษาเพื่อผลสัมฤทธิ์ที่ดี รวมทั้งควรให้ภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วม ในการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้แผนการศึกษาแห่งชาติ 20 ปี และ การศึกษาในยุค 4.0 เป็นสิ่งที่เกิดประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุด โดยพบว่าการศึกษายุค 4.0 มีความ เป็นสหวิทยาการในการนำเอาศาสตร์ด้านต่าง ๆ มาประกอบการศึกษา รวมทั้งการเปิดโอกาสให้ภาคส่วน ต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมถึงแม้ว่าจะยังไม่มากนัก แต่ก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีต่อการพัฒนานโยบาย สาธารณะด้านการศึกษาในอนาคตต่อจากยุค 4.0

References

ณัฐฐา วินิจนัยภาค. (2554). นโยบายสาธารณะ : แนวทางในการศึกษาแบบสหวิทยาการ. โครงการ เอกสารต ารา คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ไทยทริบูน. (2561). ปรับการศึกษา 0.4 สู่ 4.0 ด้วย 4 แนวทางอนาคตใหม่การปฏิรูปการศึกษา ไทย, ค้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2562, จาก http://thaitribune.org/contents/detail/305? content_id=32109&rand=1526143851

ธนวัฒน์ พิมลจินดา. (ม.ป.ป.). นโยบายสาธารณะ. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ธีระ นุชเปี่ยม. (ม.ป.ป.). นโยบายสาธารณะด้านการศึกษาในบริบทโลก. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรชัย เจดามาน และคณะ. (2559). การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2562, จาก http://oknation.nationtv.tv/blog/jedaman/ 2016/12/31/entry-1

หอจดหมายเหตุอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ. (2016). โรงเรียนหลวงแห่งแรก. ค้นเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2562, จาก http://catholichaab.com/main/index.php/research-and-study/researchand-study/1170-2016-05-13-02-18-01

Dye, R. T. (1984). Understanding Public Policy. 5th ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Easton, D. (1953). The Political System: An Inquiry into the State of Political Science. New York: Alfred A. Knopf.

Lasswell, H., & Kaplan, A. (1970). Power and Society. New Haven: Yale University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-27

How to Cite

ดวงภักดีรัมย์ ก. (2022). นโยบายสาธารณะกับการศึกษาไทยยุค 4.0. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 2(3), 1–14. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMSSNRU/article/view/353