ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ศิรินทิพย์ เทพวงษ์ Faculty of Public Administration

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจ, คุณภาพการจัดการการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่อคุณภาพการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครชั้นปีที่ 1- 4 ภาคปกติและภาคพิเศษ จำนวน 251 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครืองมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร โดยภาพรวมทั้ง 8 ด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร แตกต่างกันตามปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อาชีพ และประเภทนักศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ คณะที่กำลังศึกษาและชั้นปีการศึกษา ที่พบว่าไม่แตกต่างกัน

References

ทะเนศ วงศ์นาม. (2557). ประเมินความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อหลักสูตรเทคโนโลยีการศึกษาและ คอมพิวเตอร์ศึกษา (5 ปี) คณะศึกษาศาสตร์. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สาลินี จงใจสุรธรรม. (2553). ความพึงใจของนักศึกษาที่มีต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนระดับ บัณฑิตศึกษา. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีธรรมราช.

Krejcie, R. V., & D. W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607 – 610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-02-26