การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเหล็ก กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์กับปัจจัยทางเศรษฐกิจด้วยแบบจำลอง VAR

Main Article Content

อุทิศ พงศ์จิรวัฒนา
เกียรติภูมิ น้อยสุวรรณ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มยานยนต์ ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มเหล็ก ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่ม ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ กับปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยวิธี Vector Autoregression (VAR) และเพื่อศึกษาความผันผวนของดัชนีหลักทรัพย์ในแต่ละกลุ่ม เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลัน (Shock) ที่เกิดขึ้นกับตัวแปรที่สนใจ ด้วยวิธี Impulse Response Function และ Variance Decomposition โดยมีตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มยานยนต์ ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มเหล็ก ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ มูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้น ๆ ดัชนีค่าเงินบาท และดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งนี้ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลอนุกรมเวลารายเดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 รวมทั้งสิ้น 176 เดือน ผลการศึกษาจากผลการทดสอบ Impulse Response Function พบว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่าง ฉับพลัน (Shock) ของดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเหล็ก กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ เพิ่มขึ้น 1 หน่วย ในส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จะส่งผลให้ดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มที่กล่าวมาปรับตัวเพิ่มขึ้นรุนแรงในทันที ก่อนที่จะปรับตัวลดลงเข้าสู่ภาวะสมดุล อย่างมากโดยใช้เวลาประมาณ 12 เดือน และอย่างน้อยโดยใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ส่วนการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของตัวแปรอื่น ส่งผลต่อดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเหล็ก กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ อย่างไม่มีนัยสำคัญ ในทำนองเดียวกันจากผลการทดสอบ Variance Decomposition พบว่า ความผันผวนของดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มยานยนต์ กลุ่มเหล็ก กลุ่มวัสดุอุตสาหกรรมและเครื่องจักร และกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ ขึ้นอยู่กับความแปรปรวนของดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มของตัวมันเองในช่วงเวลาก่อนหน้าในสัดส่วนที่สูงมาก ส่วนความแปรแปรวนจากตัวแปรอื่น ๆ ส่งผลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ยกเว้นกรณี Variance Decomposition ของดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ที่ขึ้นต่อดัชนีหลักทรัพย์กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พงศกร ก้อนบาง. (2560). ศึกษาความสัมพันธ์ของอัตราผลตอบแทนดัชนีราคาอสังหาริมทรัพย์ประเภท อาคารชุดกับอัตราผลตอบแทนดัชนีราคา SET100 และอัตราผลตอบแทนดัชนีราคากลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ปรมินทร์ จันทร์สกุล. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกับดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศด้วย VAR Model. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562ก). ทางเลือกสู่ความสำเร็จของไทย. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.set.or.th/market/files/mna/Final_MnA.pdf.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562ข). การควบรวมกิจการ. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.set.or.th/th/market/Mna_p2.html.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2562ค). ข้อมูลบริษัทหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, จาก https://marketdata.set.or.th.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). มูลค่าและปริมาณสินค้าออกจำแนกตามกิจกรรมการผลิต. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www2.bot.or.th.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). Nominal Effective Exchange Rate (NEER). สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www2.bot.or.th.

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. (2562). สถิติการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.fti.or.th/2016/thai/index.aspx.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศรายไตรมาส. สืบค้นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2562, จาก www.nesdb.go.th.

Gay, Jr., R. D. (2008). Effect of Macroeconomic Variables On Stock Market Returns For Four Emerging Economies: Brazil, Russia, India, And China. International Business & Economics Research Journal (IBER), 7(3), 1-8.

Greene, W. (2012). Econometric Analysis. 7th Edition, Prentice Hall, Upper Saddle River.

Gujarati, D.N. (2004). Basic Econometrics. 4th Edition, McGraw-Hill Companies.

Gujarati D. N. & Porter D. C. (2009). Basic econometrics. 5th Edition. McGraw-Hill.