ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความผูกพัน ของพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

กมลชนก ประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสุขในการทำงานของ พนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดอุดรธานี ความผูกพันในการทำงานของพนักงานธนาคารออมสินใน จังหวัดอุดรธานีและ ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในที่ทำงานกับความผูกพันของพนักงานธนาคาร ออมสินในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดอุดรธานี จำนวน 157 ราย โดยใช้วิธีการ One way ANOVA ผลจากการศึกษา พบว่า ศึกษาและเปรียบเทียบความสุขในการ ทำงานของพนักงานธนาคารออมสินในจังหวัดอุดรธานีโดยด้านการหาความรู้ ในภาพรวมจัดอยู่ใน ระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.51) รองลงมา คือ ด้านการหาทางสงบ (gif.latex?\bar{x} = 4.50) รองลงมา คือ ด้าน สังคมดี (gif.latex?\bar{x} = 4.50) รองลงมา คือ ด้านน้ำใจงาม (gif.latex?\bar{x} = 4.49) รองลงมา คือ ด้านครอบครัวดี (gif.latex?\bar{x} = 4.47) รองลงมา คือ ด้านการผ่อนคลา ย (gif.latex?\bar{x} = 4.35) รองลงมาด้านการปลอดหนี้ (gif.latex?\bar{x} = 4.34) รองลงมาคือ ด้านสุขภาพดี (gif.latex?\bar{x} = 4.19) ตามลำดับ ปัจจัยความผูกพันด้านความรู้สึก ในภาพรวมจัด อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.50) รองลงมา คือ ด้านการคงอยู่กับองค์กร (gif.latex?\bar{x} = 4.47) รองลงมา คือ ด้านบรรทัดฐาน (gif.latex?\bar{x} = 4.46) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จงจิต เลิศวิบูลย์มงคล. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การได้รับการเสริมสร้างพลัง อำนาจในงาน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์กับความสุขในการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฐมน ชูดิสูตร. (2556).การศึกษาความสุขของพนักงานโรงงานผลิตอาหารในจังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธนาคารออมสิน. (2565). รายงานประจำปี 2565. อุดรธานี: ธนาคารออมสิน.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย เล่ม 1. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาส์.

ประเวศ วะสี. (2547). ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมกับการพัฒนา. ราชบัณฑิตยสถาน, 29(2), 48.

พรรณพนัช ไตรรัตรนุกูล. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานในบริษัท ไอ.โอ.เทคนิค จำกัด. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รุ่งกิตติ ถาวรพฤกษ์. (2561). คนสร้างสุข. สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2564, จาก https://www.facebook.com/khonsangsook/photos/a.624421937699259/1117791005029014/.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2565). คู่มือการสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

สุกมล วิภาวิพลกุล. (2556). เพศศึกษา. กรุงเทพฯ: กุโสดอ.

สุรพงษ์ นิ่มเกิดผล. (2557). รูปแบบภาวะผู้นำกับความสุขในการทำงานของพนักงานในองค์กรที่ ได้รับรางวัลองค์กรรักษามาตรฐานความเป็นองค์กรสุขภาวะ. วารสารวิชาการ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(42), 171-172.