การจัดการโรงแรมที่พักขนาดกลางแบบวิถีความปกติใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

Main Article Content

จัตตาร์พร กลางสวัสดิ์
กันฑิมาลย์ จินดาประเสริฐ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการโรงแรมที่พักขนาดกลางแบบวิถีความปกติใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดการโรงแรมที่พักขนาดกลางแบบวิถีความปกติใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูล จากการคัดเลือกแบบเจาะจง จากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ด้านธุรกิจโรงแรม จำนวน 28 ท่าน และการบันทึกสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า โรงแรมมีการปรับตัว ในการจัดการโรงแรมภายใต้วิถีความปกติใหม่ (New Normal) โดยใช้มาตรฐานของสาธารณสุขจังหวัดนครพนม และ Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) ที่มีความสำคัญต่อลูกค้า โดยเฉพาะ ลูกค้าชาวต่างชาติ กลุ่มลูกค้าองค์กรบริษัทนำเที่ยว มาตรการการป้องกันและการยกระดับของการเตือนภัยโควิด-19 โดยพบว่ามีผลกระทบ ด้านการจัดการโรงแรมที่พัก ด้านบุคลากรด้านต้นทุน โรงแรมจึงควรสร้างการรับรู้มาตรการความปลอดภัยควบคู่กับการตลาด เพื่อสร้างความแตกต่างของสินค้าและบริการ สร้างความพึงพอใจ เกิดความต้องการและตัดสินใจใช้บริการ

Article Details

How to Cite
กลางสวัสดิ์ จ., & จินดาประเสริฐ ก. (2023). การจัดการโรงแรมที่พักขนาดกลางแบบวิถีความปกติใหม่ (New Normal) ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(6), 1–15. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1769
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/vaccine-covid19/pages/รายงานความก้าวหน้าการให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). Covid-19 กับผลกระทบต่อการท่องเที่ยวของประเทศไทศไทย สถานการณ์การท่องเที่ยวของประเทศ ไตรมาส 1/2563. Tourism Economic Review รายงานภาวะเศรษฐกิจการท่องเที่ยว. 1(4). 8-16.

พัฒนาภา ธาดาสิริโชค. (2563). กลยุทธ์การปรับตัวด้านการบริหารจัดการโรงแรมในสภาวะการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา: โรงแรมเดอะภัทรา พระราม 9. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปกร.

พิริยะ ผลพิรุฬห์ และคณะ. (2563). Covid-19 ต่อภาคการท่องเที่ยวไทยผลกระทบและแนวทางการแก้ปัญหา. กองส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. UWV Policy Brief Tourism. 1(1). 1-7.

ศักดิ์สิทธิ์ บัวทอง. (2564). แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการฝ่ายปฏิบัติการสำหรับโรงแรมขนาดเล็กในกรุงเทพมหานครภายใต้การท่องเที่ยววิถีใหม่. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 5(1), 77-87.

สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ การสำรวจทัศนคติและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่เดินทางท่องเที่ยวในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.mots.go.th/download/pdf/2017FinalReportAttitude2560.pdf

สุชาติ อุทัยวัฒน. (2564). การบริหารจัดการภาวะวิกฤติธุรกิจโรงแรมไทย. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 8(2), 162-178.

สุเมธ กมลศิริ และ วัฒน์บุษรา โพวาทอง. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA ต่อผลกระทบ COVID-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2563. สาระศาสตร์, 3, 650-663.

Huberman & Mile, (1987). Steps toward an Integrated Model of Research Utilization. Sage journals, 8(4). 586–611.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2009). Marketing management. Upper Saddle River, NJ: Pearson Education.

Maslow, A. H. (1987). Motivation and personality. (3rd ed.). Delhi, India: Pearson Education.