การวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการตลาดออนไลน์ของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว ที่มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาเรื่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์อยู่เป็นจำนวนมาก แต่ทว่างานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการศึกษาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริบทของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน มากกว่าการศึกษาในบริบทของผู้ประกอบการนำเที่ยว ทั้งนี้เพื่อขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริบทของผู้ประกอบการให้กว้างขวางมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวที่มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลส่วนประสมการตลาดที่ปรากฏบนเว็บไซต์ของผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวที่มีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ 2) เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของผู้ประกอบการที่นำเสนอบนเว็บไซต์ ผู้ประกอบการที่ศึกษาได้แก่ ธุรกิจนำเที่ยวที่เป็นสมาชิกของสมาคมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์รวมจำนวนทั้งสิ้น 47 ราย โดยวิเคราะห์ข้อมูลที่ปรากฎบนเว็บไซต์ของผู้ประกอบการ ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและสถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการหลายราย (ร้อยละ 20) นำเสนอข้อมูลส่วนประสมการตลาดไม่ครบถ้วน เช่น ขาดข้อมูลรายละเอียดผลิตภัณฑ์ (รายการนำเที่ยว) ในบางส่วน ราคาไม่เป็นปัจจุบัน และขาดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อ เป็นต้น และ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ (ร้อยละ 61) ไม่มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บนเว็บไซต์ของตนเอง ทำให้ขาดโอกาสทางการตลาดและขาดความเชื่อมั่นจากลูกค้าในฐานะที่เป็นผู้ประกอบการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ให้ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการดำเนินงานด้านการตลาดออนไลน์ และเสนอแนะให้ใช้แนวคิดของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความแตกต่างผลิตภัณฑ์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กิ่งแก้ว บังศรี, ภัทรภรณ์ บุญเซ่ง และเมษ์ธาวิน พลโยธี. (2565). การออกแบบเส้นทางท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการลดการใช้สื่อโซเชียลมีเดียภายในอำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 15(1), 49-67.
รณพรหม ชุนงาม, สุภัททา ปิณฑะแพทย์ และธีรวุฒิ บุณยโสภณ. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของชุมชนในยุคดิจิทัล. วารสารศิลปากรการจัดการ, 6(2), 949-968.
สรรค์ชัย กิติยานันท์, สุทธิพจน์ ศรีบุญนาค และสุภัตรา วันพร้อม. (2561). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการผ่านทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม, 5(2), 75-90.
สุธินี ธีรานุตร์ และชวลีย์ ณ ถลาง. (2564). แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมพฤติกรรมการซื้อสินค้าท่องเที่ยวและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ของกลุ่มนักท่องเที่ยว เจเนอเรชั่น X และ เจเนอเรชั่น Y. วารสารวิชาการเซาธ์อีสท์บางกอก, 7(1), 1-14.
สุรีย์ เข็มทอง. (2556). แนวปฏิบัติที่ดีของการจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 11(2), 75-89.
อัศวิน แสงพิกุล. (2558). การเปรียบเทียบการจัดนำเที่ยวเชิงนิเวศของผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวสีเขียวอย่างมีคุณภาพ : กรณีศึกษาผู้ประกอบการในเกาะภูเก็ตและเกาะบาหลี. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 275-294.
Abdou, A.H., Hassan, T.H., & El Dief, M.M. (2020). A description of green hotel practices and their role in achieving sustainable evelopment. Sustainability, 12(22), 1-20.
Buckley, R. (2013). Environmental Inputs and Outputs in Ecotourism: Geotourism with a Positive Triple Bottom Line?. Journal of Ecotourism, 2(1), 76-82.
Kasim, A. (2006). The need for business environmental and social responsibility in the tourism industry. International Journal of Hospitality and Tourism Administration, 7(1), 1-22.
Shobeiri, S. (2014). Improving customer website involvement through experiential marketing. Service Industries Journal, 34(11), 885-900.
Sangpikul, A. (2010). Marketing Ecotourism Through the Internet: A Case of Ecotourism Business in Thailand. International Journal of Hospitality & Tourism Administration, 11(2), 107-137.
Sangpikul, A. (2017). Ecotourism impacts on the economy, society and environment of Thailand. Journal of Reviews on Global Economics, 6(1), 302-312.
Wearing, S. & Neil, J. (2019). Ecotourism: impacts, potentials and possibilities. (2nd ed.) Oxford: Butterworth-Heinemann.
Wong, I., Wan, Y., & Qi, S. (2015). Green events, value perceptions, and the role of consumer involvement in festival design and performance Journal of Sustainable Tourism, 23(2), 294-315.