กลยุทธ์การตลาดเพื่อการขยายสาขาของบริษัท แสงเงินนามอาหาร จำกัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

เปรมริกา เทียมทะนง
ช่อ วายุภักตร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดเพื่อการขยายสาขาของ บริษัท แสงเงินนามอาหาร จำกัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานที่เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ประชากรที่จะใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ ผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น และกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายและผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นางสาวแสงเงิน นามประเสริฐกุล ผู้บริหาร บริษัท แสงเงินนามอาหาร จำกัด จำนวน 1 คน โดยใช้งานวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา


           ผลการศึกษา พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20-30 ปี มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น มีอาชีพพนักงานบริษัทเอกชนและมีรายได้ 20,001 – 30,000 บาท 2) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความถี่ในการซื้ออาหารแปรรูปแช่แข็ง จำนวน 2-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ซื้ออาหารแปรรูปแช่แข็งในมื้อเย็น (16.00-19.00 น.) ซื้ออาหารแปรรูปแช่แข็งประเภทก๋วยเตี๋ยว มีค่าใช้จ่ายในการซื้ออาหารแปรรูปแช่แข็ง 61-90 บาท เคยรับประทานอาหารแช่แข็งยี่ห้อเอโร่ นิยมซื้ออาหารแปรรูปแช่แข็งที่เก็บไว้ได้นาน และมีวัตถุประสงค์ที่ซื้ออาหารแปรรูปแช่แข็ง คือ นำไปรับประทานเอง 3) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในภาพรวมของทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับความสำคัญ คือ ด้านกระบวนการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านราคา ด้านลักษณะ


ทางกายภาพ ด้านบุคลากร ด้านการส่งเสริมการตลาด และด้านผลิตภัณฑ์

Article Details

How to Cite
เทียมทะนง เ., & วายุภักตร์ ช. (2023). กลยุทธ์การตลาดเพื่อการขยายสาขาของบริษัท แสงเงินนามอาหาร จำกัด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(6), 95–107. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/1776
บท
บทความวิจัย

References

กมลรัตน์ สะดวกการ. (2561). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งในร้านซีพีเฟรชมาร์ท ของผู้บริโภคในเขตฝั่งธนบุรี. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย มหาวิทยาลัย สยาม, 2(1), 37-46.

เชียน ไป๋. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการซื้ออาหารแช่แข็งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

นิธิดา พระยาลอ และลำปาง แม่นมาตย์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์อาหาร ในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภค ที่ผลิตในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข.(ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 38-51.

บริษัท แสงเงินนามอาหาร จำกัด. (2564). ประวัติบริษัท แสงเงินนามอาหาร จำกัด. สืนค้นเมื่อ 29 กันยายน 2564, จาก https://www.facebook.com/s.namarharn/.

วิโรจน์ ตระกูลสุขสันต์ และอิทธิกร ขำเดช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารสำเร็จรูป แช่แข็งจากร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจ, 3(2), 431-452.

หทัยทิพย์ พนาวงศ์ และกิตติพงศ์ คงธนาทรัพย์. (2563). พฤติกรรมการซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งพร้อมรับประทานจากร้านสะดวกซื้อ กรณีศึกษา อำเภอเมืองจังหวัดนครสวรรค์. ใน การประชุมวิชาการ PIM 10th National and 3rd International Conference 2020, หน้า 1-10. กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.

อภิสิทธิ์ หลังโส๊ะ และฉันทนา ปาปัดถา. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารแช่แข็งของบุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย. วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ, 12(1), 24-36.

Kotler, P & Keller, K., L. (2021). Marketing Management. 15th global ed. Edinburgh: Pearson Education.

Marshall, M., N. (1996). Sampling for Qualitative Research. Family Practice, 13, 522- 525.