ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุน ต้นทุนของเงินทุน และผลการดำเนินงานทางการเงิน : กรณีศึกษาบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ SETCLMV

Main Article Content

ทิพวรรณ ฤทธิชัย
ทาริกา แย้มขะมัง
นันทวัจน์ ปัญญายศธนากรณ์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ (SETCLMV) และ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนของเงินทุนกับผลการดำเนินงานทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มดัชนีหลักทรัพย์ (SETCLMV) เป็นการศึกษาเชิงปริมาณเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานประจำปีระหว่างปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2563 ทั้งหมด 34 บริษัท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และวิเคราะห์การถดถอยพหุคุณ


ผลการวิจัยพบว่า โครงสร้างเงินทุนและต้นทุนของเงินทุนมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นนอกจากนี้ต้นทุนของเงินทุนมีความสัมพันธ์กับอัตราผลตอบแทนของสินทรัพย์รวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการจัดหาโครงสร้างเงินทุนคือองค์ประกอบสำคัญของกลยุทธ์ทางการเงิน บริษัทควรจัดหาเงินทุนจากแหล่งเงินทุนภายนอกเพราะสามารถใช้ประโยชน์จากภาระดอกเบี้ยลดภาระทางภาษีส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่สูงขึ้น รวมทั้งบริษัทที่มีโครงสร้างเงินทุนที่เหมาะสมสามารถกำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคตเพื่อผลการดำเนินงานทางการเงินตามเป้าหมายตอบสนองความต้องการของนักลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2564). ข้อมูลราคาหลักทรัพย์ย้อนหลัง 5 ปี. สืบค้น ธันวาคม 20, 2564 จาก https://www.setsmart.com.

เนาวรัตน์ ศรีพนากุล. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษาบริษัทที่อยู่ในกลุ่มดัชนี SET50. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

พรรณุภา ธุวนิมิตรกุล. (2558). การเงินธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ภาควิชาการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

รองเอก วรรณพฤกษ์, เพชรา บุญห่อ และปรารถนา วงศ์กันยา. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างเงินทุนกับผลการดำเนินงานของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม ไอ. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 19(2), 1-9.

อรพิน เหล่าประเสริฐ. (2564). รายงานทางการเงินและการวิเคราะห์. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ธนาเพลส.

Abor, J. (2007). Cor-porate Governance and Financing Decisions of Ghanaian Listed Firms. Corporate Governance: The International Journal of Business in Society, 7, 83-92.

Al-Qudah, A. A. (2017). The Relationship between Capital Structure and Financial Performance in the Companies Listed in Abu Dhabi Securities Exchange: Evidences from United Arab Emirates. Review of European, 9(2), 1-9.

Anh-Huyen, Vu Thi, Phung, The-Dong. (2021). Capital Structure, Working Capital, and Governance Quality Affect the Financial Performance of Small and Medium Enterprises in Taiwan. Journal of Risk and Financial Management, 14(8), 1-13.

Field, A. (2009). Discovering Statistics Using Spssn. Third Edition. London: SAGE Publications Ltd.

Frank, M. Z. and Goyal, V. K. (2003). Testing the Pecking Order Theory of Capital Structure. Journal of Financial Economics, 67, 217-248.

Ivascu, E. V., & Barbuta-Misu, N. (2017). Influences of the Capital Structure and the Cost of Capital on Financial Performance. Case Study on ENGIE Group. Risk in Contemporary Economy, 18, 304-320.

Kebewar, M. (2012). La structure du capital et la profitabilité: Une étude empirique sur données de panel françaises. In MPRA Paper 42446. Munich: University Library of Munich.

Kraus, A. & Litzenberger, R.H. (1973). A State-Reference Model of Optimal Financial Leverage. The Journal of Finance, 28(4), 911-922.

Myers, S. C. (1977). Determinants of Corporate Borrowing. Journal of Financial Economics, 5(2), 147-175.

Myers, S. C., & Majluf, N. S. (1984). Corporate Financing and Investment Decisions when Firms Have Information that Investors Do Not Have. Journal of Financial Economics, 13, 187-221.

Nassar, S. (2016). The Impact of Capital Structure on Financial Performance of the Firms: Evidence from Borsa Istanbul. Journal of Business & Financial Affairs, 5(2), 1-4.

Rajan, R. & Zingales, L. (1998). Financial Dependence and Growth. The American Economic Review American Economic Association, 88(3), 559-586.

Younus, S. et al. (2014). Capital Structure and Financial Performance: Evidence from Sugar Industry in Karachi Stock Exchange Pakistan. International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 4(4), 272–279.