การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีศึกษา : ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานรวมถึงทดสอบกระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) กรณีศึกษา: ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ทั้งหมด 27 สาขา จำนวน 122 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านการฝึกอบรมและพัฒนา ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมและเป็นรายด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพงาน ด้านปริมาณงาน และด้านเวลาอยู่ในระดับมาก 3) การทดสอบการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวม (OPE) อยู่ที่ 0.682 และมีอิทธิพลต่อกันอยู่ที่ 46.5% โดยมีค่าคงที่มีความสัมพันธ์ตรงกับ OPE (B=0.772, p<0.05) และด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน (HRP) (B=0.358, p<0.01) ก็มีความสัมพันธ์มากที่สุดกับ OPEอย่างชัดเจนซึ่งหมายความว่าในการการประเมินผลการปฏิบัติงาน สามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อประสิทธิภาพการทำงานและ ด้านการฝึกอบรมและพัฒนา (HRT) มีความสัมพันธ์กับ OPE (B=0.280, p<0.01) นอกจากนี้ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ (HRC)มีความสัมพันธ์กับ OPE (B=0.159, p<0.01) และ ซึ่งช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น การประเมินผลการปฏิบัติงาน การพัฒนาบุคลากรและการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมแก่พนักงาน และเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กัญญาวีณ์ เฟลด์แมน. (2565). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.
จังหวัดบุรีรัมย์. (2566). จังหวัดบุรีรัมย์. สืบค้น กันยายน 10, 2566 จาก http://www.buriram.go.th/web3/.
ดำรง คำวงค์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความคิดเห็นของบุคลากรในบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตร์และบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธรรมทัช ทองอร่าม. (2563). 5G จะเปลี่ยนแปลงประเทศไทยอย่างไร. สืบค้น มีนาคม 5, 2565 จาก https://www.tmbbank.com/analytics/commentaries/view/5G-Effect-to-ThaiBusiness.html.
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ประภาส ศิริภาพ, สุขุมพงศ์ ชาญนุวงศ์, เฉลียว วิทูรปกรณ์, วีระ ลาดหนองขุ่น และจุรีภรณ์ เมฆินไกรลาศ. (2564). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารการบริหารปกครอง, 10(1), 197-220.
ไพรินทร์ สงละเอียด. (2560). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานราชการกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน. รวบรวมบทความการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รุ่งอรุณ กระแสร์สินธุ์. (2561). ปัจจัยค่าตอบแทนที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ในเขตจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 36(2), 121-144.
อภิสิทธิ์ คุณวรปัญญา และคำรณ โชธนะโชติ. (2560). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานตำแหน่งประเภทสนับสนุน มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 5(2), 207-306.
อัญชิตา กมลเกียรติ์กิตติ. (2562). ปัจจัยการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท เค-ไมล์ แอร์ จำกัด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 12(2), 1364-1381.
Cronbach, L. J. (1954). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297-334.