การศึกษาแนวโน้มความต้องการเปิดหลักสูตรระยะสั้น ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่องานธุรกิจ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแนวทางการศึกษาเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแนวทางการศึกษาเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ 2) พัฒนาหลักสูตรระยะสั้นดิจิทัลคอนเทนต์เพื่องานธุรกิจ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้วิธีเชิงปริมาณและวิธีเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 100 คน คัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ประกอบด้วย ผู้ใช้บัณฑิต นักเรียน นักศึกษา อาจารย์ และบุคคลทั่วไป วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามและสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เห็นด้วยกับการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแนวทางการศึกษาเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านคุณธรรมจริยธรรม และด้านลักษณะบุคคล 2) หลักสูตรระยะสั้นดิจิทัลคอนเทนต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้มีการพัฒนาผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การวิพากษ์หลักสูตร และสามารถพัฒนาหลักสูตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ฐิติมา ญาณะวงษา, สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนีย์ เงินยวง, และน้ำผึ้ง อินทะเนตร. (2564). หลักสูตรที่เน้นผลลัพธ์: แนวทางใหม่สำหรับหลักสูตรอุดมศึกษา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 15(2), 279-291.
นุดี หนูไพโรจน์, จารุวรรณ นิธิไพบูลย์, ศุภโชคชัย นันทศรี และ ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. (2565). การวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรอบรมระยะสั้นการผลิตสื่อโฆษณาดิจิทัล. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 9(2), 19-35.
ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2565). การศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในมหาวิทยาลัยแบบตลาดวิชา. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(12), 261-287.
เรณุมาศ มาอุ่น. (2559). การจัดการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ.JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 2(1), 169-176.
วัฒนาภรณ์ โชครัตนชัย และหงส์วริน ไชยวงศ์. (2564). การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น “ขนมไทย” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากเกษตรกรสมาชิกนาแปลงใหญ่กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(2), 82-93.
สมชาย เทพแสง, กันต์ฐมณีญา นฤโฆษกิตติกีรติ และอัจฉริยา เทพแสง (2566). การศึกษาที่เน้นผลลัพธ์ Outcome-based Education (OBE): กุญแจสำคัญในการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นหลัก. วารสารสหวิทยาการวิจัยและนวัตกรรมการศึกษา, 2(1), 39-52.
สุมาลี เชื้อชัย. (2561). การพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลแก่นิสิตในรายวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศสําหรับครูประถมศึกษา. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 10(2), 65-79.
Yamane, T. (1973). Statistic : An Introductory Analysis. (3 rd ed). New York: Harper & Row.