ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของ พนักงานบริษัทเอกชนกลุ่มเจเนอเรชันวาย ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 2) ศึกษาวัฒนธรรมองค์การ 3) ศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 5) ศึกษาวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และ 6) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับวัฒนธรรมองค์การตามความคิดเห็นของพนักงานบริษัทเอกชนกลุ่มเจเนอเรชันวายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Linear Regression) และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ในภาพรวมและทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) วัฒนธรรมองค์การ ในภาพรวมและทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 3) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ในภาพรวมและทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 4) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 5) วัฒนธรรมองค์การ ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และ 6) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีความสัมพันธ์กับวัฒนธรรมองค์การ ในภาพรวม อยู่ในระดับสูง ประโยชน์จากงานวิจัยนี้ นำมาเป็นแนวทางให้กับผู้นำหรือผู้บริหารในองค์การ ที่ควรให้ความสำคัญในเรื่องปัจเจกบุคคล ได้แก่ การมอบหมายงานโดยยึดหลักเพื่อพัฒนาความสามารถของบุคคลากรแต่ละบุคคล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
นฤมล เพ็ญสิริวรรณ. (2561). ภาวะผู้นำกับการพัฒนาองค์การให้มีประสิทธิภาพสูงสุด. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 4(2), 117-125.
พฤธิสิทธิ์ อุทุม. (2559). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดสระแก้ว. งานนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
พันทิยา ทรัพย์ประเสริฐ. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของ พนักงาน บริษัท เรดซีน จำกัด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พลอยชมพู เหมหงษา. (2563). แรงจูงใจและคำนิยมในการปฏิบัติงานของ Generation Z ในกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปุญชรัสมิ์ ตุงคง. (2564). อิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การและแรงจูงใจในการทำงานต่อความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดชลบุรี. วารสารพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 6(4), 131-147.
ลำพึง บัวจันอัฐ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรห้องสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(3), 68-82.
วัลลภ บุตรเกต. (2562). ศึกษาวัฒนธรรมองค์การกับความสุขในการทำงานของครูใน โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 747 -759.
ศุภาพิชญ์ อินแตง. (2565). วัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของกลุ่มเจเนอเรชันวาย ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุขสันติ์ เปลี่ยนเจริญ. (2565). ผู้นำด้านการเปลี่ยนแปลงและวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทรับเหมาในโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 80-98.
Bass, B.M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York: The Free Press.
Daft, R. L. (2002). Management. (4th ed.). Fort Worth, TX: The Dryden.
Frederick, H. (1959). The Motivation of work. New York: John Wiley & Sons.