แนวทางการส่งเสริมการจัดการคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำ: กรณีศึกษาเรือนจำกลางอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี โดยเป็นการศึกษาจากผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานีการศึกษานี้ใช้วิธีวิทยาแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบสนทนากลุ่ม ระหว่างปี พ.ศ. 2564 ถึงปี พ.ศ. 2565 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี จำนวน 350 คน แบ่งเป็นผู้ต้องขังชาย จำนวน 300 คน ผู้ต้องขังหญิง จำนวน 50 คน ผลการศึกษาพบว่า สภาพของเรือนจำกลางอุดรธานี ที่มีพื้นที่และอาคารใช้สอยมีอยู่อย่างจำกัด ส่งผลให้การรองรับผู้ต้องขังเกิดปัญหาอุปสรรคในด้านคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมภายในเรือนจำเกิดความแออัด เบียดเสียดของจำนวนผู้ต้องขัง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ความเครียดสะสม ความวิตกกังวล การทะเลาะวิวาท รวมถึงพื้นที่สำหรับออกกำลังกายและทำกิจกรรมสันทนาการไม่เพียงพอ สำหรับ แนวทางการส่งเสริมเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังในเรือนจำกลางอุดรธานี ควรมีการย้ายนักโทษเด็ดขาดที่มีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดของตนเองหรือพื้นที่ใกล้เคียง อาหารของผู้ต้องขังควรมีการเพิ่มงบประมาณสนับสนุนค่าอาหารรายหัว จัดกิจกรรมนันทนาการหรือนักจิตวิทยาให้คำปรึกษา เพิ่มมาตรการในการควบคุมดูแลป้องกันทะเลาะวิวาท และจัดหาอุปกรณ์กีฬาให้เพียงพอเหมาะสม สมควรตามสภาพของผู้ต้องขัง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรมราชทัณฑ์. (2564). มาตรฐานขั้นต่ำของสหประชาชาติในการปฏิบัติต่อผู้ต้องขัง. นนทบุรี: กรมราชทัณฑ์.
จิตรา เพียรล้ำเลิศ. (2559). ความผิดเกี่ยวกับการควบคุมการขอทานการเรี่ยไรและการโฆษณาโดยการใช้เครื่องขยายเสียง. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฐพล น้อยประเสริฐ และ ศุภกร ปุญญฤทธิ์. (2563). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมผู้ต้องขัง: กรณีศึกษาทัณฑสถานวัยหนุ่มกลาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชญาวิทยาและงานยุติธรรม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
นายเอ (นามสมมุติ). (2565, 26 ตุลาคม). ผู้ต้องขัง. เรือนจำกลางอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี.สัมภาษณ์.
นายบี (นามสมมุติ). (2565, 26 ตุลาคม). ผู้ต้องขัง. เรือนจำกลางอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี.สัมภาษณ์.
นายซี (นามสมมุติ). (2565, 26 ตุลาคม). ผู้ต้องขัง. เรือนจำกลางอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี.สัมภาษณ์.
นายดี (นามสมมุติ). (2565, 26 ตุลาคม). ผู้ต้องขัง. เรือนจำกลางอุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี.สัมภาษณ์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
พิรญาณ โคตรชมภู. (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผูตองขังเชิงพุทธบูรณาการ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธงชัย ทองคำ, ภักดี โพธิ์สิงห์ และ ยุภาพร ยุภาศ. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล ครั้งที่ 5 (The fifth National Conference on Public Affairs Management in the Digital Era) “การบริหารกิจการสาธารณะยุคดิจิทัล: กฎหมาย ความเป็นธรรม และการกลับคืนสู่ประชาธิปไตย” (Public Affairs Management in the Digital Era: Legal, Justice and A Return to Democracy), หน้า 836-847. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภณัฐ แสนโคตร. (2558). ความคิดเห็นของผู้ต้องขังสูงอายุต่อการจัดสวัสดิการในเรือนจำตราด. สารนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุมนทิพย์ จิตสว่าง และ นัทธี จิตสว่าง. (2559). การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ต้องขังสูงอายุในเรือนจำ. สังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 24(2), 78-101.
อภิสิทธิ์ ป้องศรี. (2564). มาตรฐานคุณภาพชีวิตผู้ต้องขังสูงอายุกรณีศึกษาเรือนจำกลางคลองเปรม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition. New York: Harper and Row.