ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อศักยภาพการจัดการ โลจิสติกส์ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2) เพื่อสร้างสมการการพยากรณ์ของความสำเร็จการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลวิจัย คือ คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 119 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ด้วยการถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ และประสิทธิภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจมีความสัมพันธ์ทางบวก กับความสำเร็จศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจ โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และสร้างสมการพยากรณ์ของความสำเร็จการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เป็นตัวแปรเกณฑ์ ตัวพยากรณ์ที่มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนในรูปมาตรฐาน คือ ปัจจัยด้านการตลาด ปัจจัยด้านความน่าเชื่อถือ และปัจจัยด้านเวลา ถือเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จศักยภาพการจัดการโลจิสติกส์ของผู้ประกอบการวิสาหกิจของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่สามารถร่วมพยากรณ์ผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการวิสาหกิจของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ได้ร้อยละ 53.20 สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ = 0.857+0.299 () + 0.070 () +0.512 () สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานปัจจัย = 0.269 () + 0.909 () + 0.553 ()
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2563). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. กรุงเทพฯ: สามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2564). ตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ภาคการเกษตร. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก http://logistics.oae.go.th/web/p/html/page/about-us/.
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2565). รายงานสถานการณ์ SME. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก https://www.sme.go.th/th/.
สุธีรา อะทะวงษา และสมบูรณ์ สัตยารักษ์วิทย์ (2557). ศึกษาคุณลักษณะของการเป็นผู้ประกอบการและลักษณะ ของสถานประกอบการที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
Ahmed ,H., Tim G.,Ani M. (2022). Assessing the impact of sustainable logistics service quality on relationship quality: Survey-based evidence in Egypt. Cleaner Logistics and Supply Chain.
Amah, E. & Ahiauzu, A. (2013). Employee involvement and organizational effectiveness. Journal of Management Development. (32), 661-674.
Cooper, R. (2017). Supply Chain Development for the LeanEnterprise: Interorganizational cost Management. London : Routledge.
Caruana, A. , Pitt, L. & Berthon, P. ( 1999) . Excellence- Market Orientation Link: Some Consequences for Service Firms, Journal of Business Research, 44(1).
Greenley, G. (1995). Market Orientation and Company Performance: Empirical Evidence from UK Companies, British. Journal of Management, 6(1), 1-13.
Gaspare, A.,Katarzyna D.,Izabela.,Giuseppe I. (2021). Smart and sustainable logistics of Port cities: A framework for comprehending enabling factors, domains and goals. Sustainable Cities and Society.
Kwak, H., Jaju, A., Puzakova, M. and Rocereto, J. (2013). The Connubial Relationship Between Market Orientation and Entrepreneurial Orientation. Journal of Marketing Theory and Practice, 21(2), 141-161.
Lai, K.-H., Ngai, E. W. T., & Cheng, T. C. E. (2004). An empirical study of supply chain performance in transport logistics. International Journal of Production Economics, 87(3), 321-331.
Lu, C.-S. (2004). An evaluation of logistics services’ requirements of international distribution centers in Taiwan. Transportation Journal, 43(4), 53-66.
Mariusz K.,Ludmiła F.,Szymon W. (2021). Modern technologies development in logistics centers: the case study of Poland. Transportation Research Procedia, 55, 268–275.
Valmohammadi, C. (2017). Customer relationship management: Innovation and performance. International Journal of Innovation Science, 9(4), 374-395.
Yang, C.-C. (2012). Assessing the moderating effect of innovation capability on the between logistics service capability and firm performance for ocean freight forwarders. International Journal of Logistics Research and Applications, 15(1)., 53-69.