อิทธิพลของการรับรู้ลักษณะเด่นของร้านอาหารบุฟเฟต์ชาบูในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการใช้บริการของผู้บริโภค

Main Article Content

พีรยา สมศักดิ์
อรไท เขียวชอุ่ม
ตะวัน วาทกิจ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ลักษณะเด่นของร้านอาหารบุฟเฟต์ชาบูในจังหวัดเชียงใหม่ต่อความตั้งใจใช้บริการของผู้บริโภค ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามเป็นผู้ใช้บริการร้านบุฟเฟต์ชาบูในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงซ้อน ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ลักษณะเด่นของร้านอาหารบุฟเฟต์ชาบูในจังหวัดเชียงใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 มี 3 ด้าน ได้แก่ การจัดพื้นที่ในการให้บริการลูกค้า ร้านมีชื่อเสียงในการให้บริการด้านของหวานและเครื่องดื่ม และความสะดวกในการเข้าใช้บริการ โดยปัจจัยที่มีผลต่อการใช้บริการของร้านเป็นอันดับแรกของแต่ละส่วนผสมทางการตลาดนั้นได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์มีน้ำจิ้มให้เลือกหลายประเภท ด้านราคามีความเหมาะสมกับราคาค่าบริการต่อท่าน ด้านการจัดจำหน่ายมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ด้านการส่งเสริมการตลาดมีโปรโมชั่นพิเศษในแต่ละช่วงเวลา ด้านบุคลากรมีพนักงานสุขอนามัยที่สะอาด ด้านกระบวนการการให้บริการคิดชำระเงิน ถูกต้องรวดเร็ว และด้านสิ่งนำเสนอทางกายภาพคือ ร้านอาหารบุฟเฟต์มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศ และรูปแบบการจัดโต๊ะมีความเหมาะสมกับจำนวนผู้เข้าใช้บริการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานกรณ์โรคติตเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุข และปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง กลุ่มพัฒนาวิชาการโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณาสุข. สืบค้นเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://ddc.moph.go.th/law.php?law=1.

กรุงเทพธุรกิจ. (2563). เจาะกลยุทธ์ ชาบู ปิ้งย่าง ตีโจทย์แตก ที่บ้านขาดหม้อหุงต้มก็ไม่แคร์. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.bangkokbiznews.com/business/877016.

จตุรพร แก้วแหลือง วันพิชิต เบ็งจีน รมิฎาษ์ ปารติณญา และสกุลทิพย์ ศรีกุล. (2563). พฤติกรรมและความต้องการบริโภคอาหารทะเลของลูค้าที่มีตอร้านอาหารแบบบุฟเฟ่ต์: กรณีศึกษาร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์แห่งหนึ่งในจังหวัดขอนแก่น. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยตะวันออกเฉียงเหนือครั้งที่ 7 (นวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาชุมชน), หน้า 1124-1131. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยตะวันออกเฉียงเหนือ.

ชลลดา มงคลวนิช จักษณา พรายแก้ว และปุณณภา กนกวลัยวรรณ. (2562). ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการบริโภคอาหารบุฟเฟต์ในโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 19(1), 81-95.

ชูศักดิ์ เดชเกรียงไกรกุล. (2546). IRM:CRM การตลาดมุ่งสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชัน.

แทนพงศ์ แท่นชัยกุล. (2559). แผนธุรกิจชาบูฟาร์ม. ค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธงสรวง ศรีธัญรัตน์ และธรรมวิมล สุขเสริม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลตอความจงรักภักดีของลูกค้า : กรณีศึกษา ร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้ออาคเนย์ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(1), 38-52.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ปัทมา เสนทอง กิตติ สุวรรณโณ ชิน ศรีมาลานนท์ ฐิตาพร มณีคง ธนกร ชูกระชั้น มานิตา โชติวงศ์ รุ่งจิรา สุขแปะเง้า วัชรี ยวนเศษ และนัฐลิกา เพ็งรักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลในการเลือกร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์และปัจจัยสภาพแวดล้อมในร้านหมูกระทะบุฟเฟ่ต์ที่มีผลต่อสุขภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎ์ธานีซ. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(1), 180-192.

พันธนันท์ ศุภภาคิณ และพัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการห้องอาหารบุฟเฟต์ บางกอก บาโคนี่ชั้น 81 โรงแรมใบหยกสกาย. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 5(2), 130-142.

เพชรินทร์ อยู่เป็นสุข และเจริญชัย เอกมาไพศาล. (2561). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่ออาหารประเภทฟู้ดทรัค กรณีศึกษาในตลาดนัดหัวมุม ถนนเกษตร-นวมินทร์ กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 14(1), 1-24.

ภูริ ชุณห์ขจร. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคที่ใช้บริการร้านอาหารรางวัลมิชลินสตาร์ในประเทศ. วารสารวิชาการคณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12 (2), 145-160.

ฤทัยริทธิ์ ทองกรบุณยวัทน์. (2561). คุณค่าตราสินค้า และส่วนประสมทางการตลาดบริการ ที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในคุณภาพการบริการ และความภักดีในตราสินค้าของร้านอาหารบุฟเฟต์ประเภทชาบู ในห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศิวบุษ พรหมสงฆ์ วิลาสินี ยนต์วิกัย และสุพิชา บูรณะวิทยาภรณ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการร้านบุฟเฟต์กระทะร้อน : กรณีศึกษา ร้านนัวเนย บุฟเฟต์โคขุน & ซีฟู๊ด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1), 267-282

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). กลยุทธ์การตลาดและการบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ: Diamond in Business World.

สุปรียา ช่วยเมือง ณิชาภัทร์ วัชรธรรมมาพร ภัทรมน คำเครือ รุ่งรพี พูลนาผล และทัชชกร สัมมะสุต. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและคุณภาพบริการที่มีอิทธิพลต่อการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้บริโภคร้าน After Yum โดยส่งผ่านความพึงพอใจ. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(2), 309-321.

อกนิษฐ์ เชยคำดี และชญาภัทร์ กี่อาริโย. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเลือกใช้บริการร้านอาหารติ่มซำ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิทยาการจัดการ, 5 (1), 40-58.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2556). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์.

BOT Magazine. (2563). จากชาบูสู่ดิลิเวอรี พลิกกระบวนท่าการตลาด หาทางรอดให้ธุรกิจในภาวะวิกฤติ. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Documents/PhraSiam0563/BOTMAG5-63_Final.pdf#page=9.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.

Kotler, P. and Armstrong,G.(2014). Principle of Marketing. (15th ed.). USA: Pearson Education.

Kotler, P., and Armstrong, G. (2016). Marketing management (13th ed.). New Jersey: Pearson Education Inc.

Wongnai. (2562). สรุปข้อมูลและเทรนด์ธุรกิจร้านอาหารในประเทศไทยสำหรับปี 2562. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564, จาก https://www.wongnai.com/business-owners/thailand-restaurant-trend.