อิทธิพลของภาวะความเป็นผู้ประกอบการและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อความสามารถการตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานการตลาด ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในภาคกลางตอนล่าง

Main Article Content

อรัญชนก แป้นคุ้มญาติ
วัชระ เวชประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะความเป็นผู้ประกอบการ การยอมรับเทคโนโลยี ความสามารถการตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานการตลาด ตลอดจนอิทธิพลของภาวะความเป็นผู้ประกอบการและการยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อความสามารถการตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานการตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในภาคกลางตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างคือกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในภาคกลางตอนล่าง จำนวน 300 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในภาคกลางตอนล่างมีภาวะความเป็นผู้ประกอบการ การยอมรับเทคโนโลยี ความสามารถการตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานการตลาดอยู่ในระดับมาก ผลการศึกษาพบว่า ภาวะความเป็นผู้ประกอบการมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถการตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการ การยอมรับเทคโนโลยีมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความสามารถการตลาดดิจิทัลและผลการดำเนินงานการตลาดของกลุ่มผู้ประกอบการ ความสามารถการตลาดดิจิทัลมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อผลการดำเนินงานการตลาด ความสามารถการตลาดดิจิทัลเป็นตัวแปรส่งผ่านบางส่วนอิทธิพลระหว่างภาวะความเป็นผู้ประกอบการ การยอมรับเทคโนโลยีกับผลการดำเนินงานการตลาดของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนในภาคกลางตอนล่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2563). ภาคกลางตอนล่าง. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2564, จาก https://cddadg.cdd.go.th/wp-content/uploads/sites/101/2018/03.

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราชและบุญฑวรรณ วิงวอน. (2562). อิทธิพลของภาวะการเป็นผู้ประกอบการการบูรณาการองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารศิลปการจัดการ, 4(2), 310-321.

คมกริช นันทะโรจพงศ์. (2564). การเสริมสร้างพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการภายในองค์การของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีนวัตกรรม:อิทธิพลของการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีสมรรถนะสูงและการรับรู้ความสามารถของตนเอง. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 13(1), 44-65.

ชัชพัชร์ เตชะเกษมสุขและทิวา พาร์ค. (2565). การยอมรับเทคโนโลยี และการสื่อสารการตลาดดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรองเท้าออนไลน์ของผู้บริโภค Generation X ในเขตกรุงเทพมหานคร. Journal of Business Administration and Languages (JBAL), 10(1), 72-76.

ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2562). ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้ง. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

ธัญนันท์ บุญอยู่. (2561). อิทธิพลของความสามารถทางนวัตกรรมในฐานะตัวแปรคั่นกลางที่ถ่ายทอดอิทธิพลของวัฒนธรรมองค์การ การมุ่งเน้นการตลาด การจัดการความรู้ และการเป็นผู้ประกอบการสู่ความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมรองเท้าและเครื่องหนัง. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 8(ฉบับพิเศษ), 56-58.

นฤมล สุวิมลเจริญ และ ปรารถนา ปุณณกิติเกษม. (2559). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจออนไลน์ในกลุ่มอุตสาหกรรมลวดสลิง. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(95), 168-174.

ประสิทธิชัย นรากรณ์. (2563). ผลกระทบของความสามารถการตลาดดิจิทัลในฐานะตัวแปรส่งผ่านต่อประสิทธิภาพทางการตลาดของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม.วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 42(166), 56-60.

พรทิพย์ บุญทรง, ประชา ตันเสนีย์ และนงลักษณ์ ลัคนทินากร. (2559). รูปแบบการจัดการความรู้ เพื่อความได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ ตลาดน้ำลำพญา จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Baron, R. M., & Kenny, D. A. (1986). The moderator-mediator variable distinction in social psychological research: Conceptual, strategic and statistical considerations. Journal of Personality and Social Psychology, 51(6), 1173-1182.

Borden, D.S., Coles, T. & Shaw, G.(2016). Social marketing, sustainable tourism and SMTEs: Challenges and opportunities for changing guest behavior. Journal of Sustainable Tourism, 25(7), 903-920.

Donlaya, C. (2019). Modern Organization Management. Retrieved December 9, 2021, from https://www.moneywecan.com/organizing.

Gurteen D. (1998). Knowledge, Creativity and Innovation. Journal of Knowledge Management, 2(1), 5-13.

Hasunthari, N. (2020). Quality Organization Management. Retrieved August 10, 2022, from http://www.elfhs.ssru.ac.th/natnicha_ha/file.php/1/MPA_5704/_pdf.

Kaur, G. (2016). Social Media Marketing. Asian Journal of Multidisciplinary Studies, 4,34-36.

Kerlinger, F N and Pedhazur E J. (1973). Multiple regression in behavioral research. New York: Holt, Rinchart and Winston, Inc.

Laddawan L., Christopher S. and Chandana H. (2018). Relationship between Market Orientation, Entrepreneurial Orientation, and Firm Performance in Thai SMEs: The Mediating Role of Marketing Capabilities. International Journal of Business and Economics, 17(3), 213-237.

Lee, S. J. (2013). An integrated adoption model for e-books in a mobile environment: Evidence from South Korea [Electronics version]. Journal of Telematics and Informatics, 30, 165–176.

Miller, D., Droge, C., and Toulouse, J.M. (1988). Strategic Process and Content as Mediators between Organizational Context and Structure. Academy of Management Journal, 31(3), 544–569.

Niracharapa T. and Sakkarin N. (2022). Mediating Effect of Digital Marketing Capability on Marketing Effectiveness of Community Enterprises in Nakhon Pathom Province, Thailand. Malaysian Journal of Communication, 38(1), 201-220.

Perengki S., etc. (2021). Entrepreneurial orientation and performance of SMEs: the roles of marketing capabilities and social media usage. Retrieved July 8, 2022, from https://www.emerald.com/insight/publication/issn/2053-4604

Tomasi, S., Li, and Yasmin, et al. (2015). Influences of search engine optimization on performance of SMEs: A qualitative perceptive. Journal of Electronic Commerce in Organizations, 13(1), 27-49.

Yamane, T. (1970). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo: John Weatherhill.