แนวทางการกำหนดกลยุทธ์ของผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารแปรรูปจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น 2.) เพื่อศึกษาแนวทางในการกำหนดกลยุทธ์ของผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น เป็นการวิจัยเชิงผสม ( Mixed Method Research ) โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ T-Test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ผู้บริโภคตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นได้แก่ ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านราคา และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ตามลำดับ แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ของผู้ประกอบการแปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นควรเลือกใช้กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1) เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในตลาดออนไลน์เพิ่มมากยิ่งขึ้น 2) เปิดช่องทางการแสดงความคิดเห็น 3) ใช้เทคโนโลยีการผลิตสร้างเครือยข่ายจำหน่ายสินค้า 4) เพิ่มการชำระเงินให้มีหลากหลายมากขึ้น 5) เลือกซื้อวัตถุดิบที่ใกล้แหล่งผลิต 6) พัฒนาสายการผลิตให้ได้ผลผลิตที่รวดเร็ว นอกจากนี้ยังสามารถกำหนดกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด 4Ps ได้แก่ ปรับปรุงให้ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย กำหนดราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของสินค้า การส่งเสริมการตลาดโดยการลดราคาสินค้าในโอกาสต่าง ๆ เพิ่มช่องทางจำหน่ายตามร้านค้าสมัยใหม่ ร้านค้าสะดวกซื้อ หรือร้านจำหน่ายของฝากและออนไลน์ จากการทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศกับพฤติกรรมของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสุกร พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศที่แตกต่างกันส่งผลต่อปริมาณการซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปอาหารจากเนื้อสุกรของผู้บริโภคแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กัญสพัฒน์ นับถือตรง. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการสั่งอาหารเดริเวอร์รี่ในจังหวัดสุรินท์. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 104-113.
กาญจพรรษ เมฆอรุณ และ กนกพร ชัยประสิทธิ์. (2562). ปัจจัยที่ผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นสำเร็จรูป. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 9(2), 205-2016.
กิรฐากร บุณรอด, สุณิสา ผลโชติ และ รุษยา คำนวณ. (2565). แนวทางในการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมในช่องวิกฤต โควิด-19. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 15(9), 139-148.
ธนพล วีราสา และ สุพัตรา ลิขิตวานิช. (2561). การศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์น้ำพริกผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนาทวีปวรเดช และ ภูษิต วงศ์หล่อสายชล. (2562). การพัฒนากลยุทธ์สำหรับธุรกิจทีวีดาวเทียมของบริษัท A. ใน การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2562, หน้า 1139-1178. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
นงค์นุช บุญกล่า, วิชญานัน รัตนวิบูลย์สม และ สุกิจ ขอเชื้อกลาง. (2563). การศึกษาการรับรู้ลำดับวัฏจักรอุตสาหกรรมที่ส่งผลต่อความได้เปรียบในการแข่งขันและผลดำเนินงานส่งออก: กรณีศึกษาบริษัทส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 37(2). 31-57.
ปิยฐิดา พุทธา และคณะ. (2564).พฤติกรรมการซื้ออาหารสำเร็จรูปแช่แข็งของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 8(2), 75-88.
สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ. (2563). สืบค้น 18 พฤศจิกายน 25564, จาก https://region6.dld.go.th.
สำนักงานพัฒนาคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). สืบค้น 18 พฤศจิกายน 25564, จาก https://www.nesdc.go.th/.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมศุลกากร. (2564). สืบค้น 18 พฤศจิกายน 25564, จาก https://www.oae.go.th/.
สุวรรณี โภชากรณ์ และคณะ. (2559). การวิเคราะห์ปัจจัยเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไม้ยางพาราแปรรูปในประเทศไทย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.
อรนุช วานิชนาม. (2558). การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการโรงพิมพ์ไปสู่โรงพิมพ์ดิจิทัลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
อัครกิตติ์ พัฒนสัมพันธ์. (2565). ประสิทธิภาพ ตามแนวคิด 7s ของ McKinsey กรณีศึกษา บริษัท เอกชนแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ อำเภอบางประกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยรำไพรพรรณ, 16(1), 5-14.