อิทธิพลของคุณภาพการบริการและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำ ของผู้ใช้บริการต่อบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน เขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างในประเทศไทย

Main Article Content

นันทพร ห้วยแก้ว
นันทิตา เพชราภรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการบริการ การรับรู้คุณค่า และการตัดสินใจใช้บริการซ้ำบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน ในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของคุณภาพการบริการ การรับรู้คุณค่าที่ส่งผลการตัดสินใจใช้บริการซ้ำบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน ในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการ จำนวน 385 คน สุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็น (Non-Probability sampling) โดยเลือกวิธีการเก็บข้อมูลแบบสะดวก (Convenience) การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สถิติถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ด้วยวิธี Enter ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการบริการ การรับรู้คุณค่า และการตัดสินใจใช้บริการซ้ำ อยู่ในระดับมาก และพบว่าคุณภาพการบริการส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน ในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ความเป็นรูปธรรมของบริการ ความน่าเชื่อถือ การให้ความเชื่อมั่นต่อลูกค้า และการรู้จักและเข้าใจลูกค้า ส่วนการรับรู้คุณค่าส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน ในเขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการให้บริการและการรับรู้คุณค่าให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ เพื่อธุรกิจสามารถส่งมอบบริการที่ดี มีคุณภาพและสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการอย่างยั่งยืน

Article Details

How to Cite
ห้วยแก้ว น., & เพชราภรณ์ น. (2024). อิทธิพลของคุณภาพการบริการและการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำ ของผู้ใช้บริการต่อบริษัทขนส่งพัสดุเอกชน เขตพื้นที่ภาคกลางตอนล่างในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 6(4), 89–100. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2470
บท
บทความวิจัย

References

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และสมพล ทุ่งหว้า. (2562). ผลของคุณภาพการให้บริการต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำของผู้ให้บริการขนส่ง. วารสารเกษมบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 20(1), 92 - 106.

กันหา พฤทธิ์พงศกร. (2564). การศึกษาคุณภาพการบริการและประสิทธิภาพการขนส่งที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการไปรษณีย์ไทย จังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช, 8(1), 147 – 161.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ฐิติภา ครูบาและบุญฑวรรณ วิงวอน. (2560). กลยุทธ์การตลาด คุณภาพบริการ คุณค่าที่รับรู้และความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าธุรกิจลิสซิ่งรถยนต์ จังหวัดลำปาง. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 23(3), 187-201.

บุญผล รักษาศรี และ พอดี สุขพันธ์. (2565). คุณภาพการบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้ใช้บริการเช่ารถยนต์เพื่อการท่องเที่ยว : กรณีศึกษา Budget Thailand. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “Graduate school conference 2002 iHappiness: ความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืนในยุคสังคมดิจิทัล” ครั้งที่ 4 วันที่ 31 สิงหาคม 2565, หน้า 716 – 723. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

พรกนก ภิลุมวงค์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสินค้า คุณภาพบริการและแนวโน้มการกลับมาใช้บริการร้านหมูกระทะ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

ภาวิณี ทองแย้ม. (2560). ความสำคัญของคุณภาพการบริการต่อความสำเร็จของธุรกิจ. วารสารเกษมบัณฑิต, 18(1), 219-231.

รุ่งทิพย์ นิลพัท. (2561). คุณภาพการให้บริการและความพึงพอใจที่มีความสัมพันธ์กับการกลับมาใช้บริการซ้ำของผู้รับบริการโรงพยาบาล เปาโลรังสิต. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วิจัยกรุงศรี. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรมปี 2565-2567: ธุรกิจบริการขนส่งสินค้าทางถนน. สืบค้น กันยายน 25, 2566 จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/logistics/road-freight-transportation/IO/road-freight- transportation-2022-2024.

วิริยะ พีระพัฒนพงษ์ และรสิตา สังข์บุญนาค. (2562). การรับรู้คุณค่าของผู้บริโภคที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์นมออร์แกนิกของกิจการเพื่อสังคมในเขตกรุงเทพมหานคร:กรณีศึกษา บริษัท แดรี่โฮม จำกัด. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(1), 34-54.

วุฒิชาติ สุนทรสมัย. (2566). การทำนายความตั้งใจกลับมาซื้อซ้ำด้วยการรับรู้คุณค่าและความพึงพอใจด้านส่วนประสมการตลาดของสินค้าของฝากข้าวหลามจากตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 71-86.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). E-Commerce แรงไม่ไม่ตกดันโลจิสติกส์โต. สืบค้น กันยายน 25, 2566 จาก https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSMEAnalysis/Documents/E-Commerce_Logistic.pdf.

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ. (2566). ttb analytics คาดธุรกิจขนส่งพัสดุปี 2566 โตต่อเนื่อง แรงหนุน E-Commerce ด้วยมูลค่ากว่า 1.15 แสนล้านบาท สวนทางกับกำไร แนะกลุ่มขนส่งพัสดุดั้งเดิม เร่งปรับตัวรับตลาดแข่งขันสูง. สืบค้น กันยายน 25, 2566 จาก https://media.ttbbank.com/5004analytics_business_and_industry/35-Highlight-desktop-th.pdf.

สราลี โรมรัตนพันธ์. (2561). ความไว้วางใจ คุณภาพการให้บริการ การรับรู้คุณค่า และภาพลักษณ์ ส่งผลต่อความพึงพอใจและการกลับมาใช้บริการซ้ำของสายการบินต้นทุนต่ำภายในประเทศ. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สุชญา จิรภาวสุทธิ์ และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา. (2564). คุณภาพการให้บริการการขนส่งภายในประเทศของบริษัท ดีเอชแอล อีคอมเมิร์ซ โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัดที่ส่งผลต่อการใช้บริการซ้ำ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 13(1), 159-175.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2565). ที่ราบลุ่มภาคกลางตอนล่าง. สืบค้น ตุลาคม 13, 2565 จาก http://wetlands.onep.go.th/wetland/details/20190808113100955255.

หทัยภัทร วิทุรานิช. (2564). อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความผูกพันของผู้บริโภคผ่านช่องทางเฟซบุ๊กแฟนเพจตราสินค้าแฟชั่น. สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Boksberger, P. E., & Melsen, L. (2011). Perceived value: A critical examination of definitions concepts and measures for the service industry. Journal of Services Marketing, 25(3), 229-240.

Burnett, J., & Moriarty, S. E. (1998). Introduction to marketing communication: Anintegrated approach. Upper Saddle River: Prentice-Hall.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques. New York: John Wiley & Sons.

Deliveree. (2565). บริการขนส่งของโดยบริษัทขนส่งเอกชนมีอะไรบ้าง. สืบค้น ตุลาคม 13, 2565 จาก https://www.deliveree.com/th/delivery-companies-thailand.

Park J. W., Robertson R. & Wu C. L. (2006). Modelling the Impact of Airline Service Quality and Marketing Variables on Passengers’ Future Behavioural Intentions, Transportation Planning and Technology, 29(5), 359-381.

Kitapci, O., Akdogan, C., & Dortyol, I. T. (2014). The impact of service quality dimensions on patient satisfaction, repurchase intentions and word-of-mouth communication in the public healthcare industry. Procedia - Social and Behavioral Sciences, 148(1), 161-169.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A. & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring consumer perception of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12-40.

Positionning. (2565). มองธุรกิจขนส่งปี65 กลับมาโต 10.5% แต่โครงสร้างต้นทุนไทยยังแพงกว่าคู่แข่งขัน. สืบค้น ตุลาคม 13, 2565 จาก https://positioningmag.com/1368223.

Zeithaml, V. A. (1988). Consumer perceptions of price, quality and value: A means-end modeland synthesis of evidence. Journal of Marketing, 52(3), 2-22.