การบริหารวัฒนธรรมองค์กรในสถานการณ์ปัจจุบัน: การเปลี่ยนแปลงและความสำคัญของการปรับตัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรเป็นกระบวนการที่สำคัญในการปรับตัวต่อสภาวะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) ซึ่งได้ส่งผลกระทบต่อวิธีการทำงานและวัฒนธรรมองค์กรอย่างลึกซึ้ง บทความนี้สำรวจถึงบทบาทของวัฒนธรรมองค์กรและความท้าทายในการเปลี่ยนแปลงหลัง COVID-19 พร้อมทั้งเสนอแนวทางในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ วัฒนธรรมองค์กรเป็นรูปแบบการทำงานร่วมกันที่มีค่านิยม ความเชื่อ และบรรทัดฐานร่วมกัน ซึ่งมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและการปฏิบัติงานของบุคลากร การมีวัฒนธรรมองค์กรที่แข็งแรงสามารถส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานและความพึงพอใจของบุคลากร ในขณะที่วัฒนธรรมที่อ่อนอาจนำไปสู่ความขัดแย้งและการทำงานที่ไม่เป็นระเบียบ การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรในยุคปัจจุบันต้องเผชิญกับความท้าทายจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง และการระบาดของ COVID-19 บทความนี้แสดงให้เห็นว่าการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ที่หลากหลาย เช่น การสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมปัจจุบัน การมีบทบาทของผู้บริหารในการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง การสร้างกลยุทธ์และแผนการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมของบุคลากร การสรรหาบุคลากรที่เหมาะสม การติดตามผล และการอดใจรอ การฝึกอบรม การสร้างภาวะผู้นำ และการออกแบบองค์กรเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง การเข้าใจปัจจัยที่ส่งผลต่อความยากง่ายในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรจะช่วยให้การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่ความสำเร็จและความสามารถในการแข่งขันในยุคปัจจุบัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
นราธิป ศรีราม. (2559). แนวทางการพัฒนาการบริหารราชการไทย หน่วยที่ 15 ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารราชการไทย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรรณวดี ชัยกิจ. (2564). การแพร่กระจายของข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการป้องกันของไทย. วารสารรัชต์ภาคย์ สถาบันรัชต์ภาคย์, 15(40), 15-32.
วิเชียร วิทยอุดม. (2551). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ธนธัชการพิมพ์.
สุพิณ เกชาคุปต์. (2559). วัฒนธรรมองค์กรและการเปลี่ยนแปลง หน่วยที่ 13 ในเอกสารการสอนชุดวิชาการบริหารการเปลี่ยนแปลง. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Burke, W. W. (2017). Organization change: Theory and practice (4th ed.). California: Sage Publications.
Kimberlee. (2020). 7 Steps To Facilitate A Successful Cultural Transformation At Your Organization. Retrieved September 20, 2021, from https://harver.com/blog/cultural-transformation/.
Kotter, J. P., & Heskett, J. L. (1992). Corporate culture and performance. New York: Free Press.
McKinsey & Company. (2 (McKinsey & Company) state of Organizations 2023: Ten shifts transforming organizations. Retrieved from https://www.mckinsey.com.
Schein, E. H. (2010). Organizational culture and leadership (4th ed.). California: Jossey-Bass.
Scott, W. R. (2003). Organizations: Rational, natural, and open systems (5th ed.). New Jersey: Prentice Hall.