ผลกระทบของปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและการสื่อสารการตลาด ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผลกระทบของปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีและการสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอิทธิพลของ การยอมรับเทคโนโลยีที่มีต่อทัศนคติการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี 2) ศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดที่มีต่อทัศนคติการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุ ในจังหวัดเพชรบุรี 3) ศึกษาอิทธิพลของทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี 4) ศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยี ที่มีต่อพฤติกรรมการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี และ 5) ศึกษาอิทธิพลของการสื่อสารการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุ ในจังหวัดเพชรบุรีที่เคยใช้งานโมบายแบงค์กิ้ง จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ความเสี่ยง และด้านอิทธิพลทางสังคม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ส่วนปัจจัยด้านการรับรู้ความง่าย และด้านการรับรู้ประโยชน์ ไม่มีอิทธิพลต่อทัศนคติการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี 2) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดด้านการโฆษณา ด้านการขายโดยใช้พนักงาน และด้านการส่งเสริมการขาย มีอิทธิพลเชิงบวกต่อทัศนคติการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ส่วนปัจจัยการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ ไม่มีอิทธิพลต่อทัศนคติการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรภายในของทัศนคติที่มีต่อการใช้งานโมบายแบงค์กิ้ง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 4) ปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีด้านการรับรู้ความเสี่ยง ด้านการรับรู้ความง่าย ด้านการรับรู้ประโยชน์ และด้านอิทธิพลทางสังคม มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และ 5) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดด้านการโฆษณา ด้านการขายโดยใช้พนักงานด้านการส่งเสริมการขาย และด้านการให้ข่าวและการประชาสัมพันธ์ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการใช้งานโมบายแบงค์กิ้งของผู้สูงอายุในจังหวัดเพชรบุรี ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กวินณา เจะโสะ และคณะ. (2563). การยอมรับและพฤติกรรมการใช้โมบายแบงก์กิ้งในแต่ละเจเนอเรชั่น: กรณีศึกษา ผู้ใช้ในจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ, 7(1), 74-85.
ฉัตรชนก ศิริโสภณกิจสกูล. (2558). การสื่อสารการตลาดที่สัมพันธ์ต่อภาพลักษณ์องค์กรของธนาคารกสิกรไทย สาขาชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ฐานิดา สวัสดี. (2560). การสื่อสารการตลาดที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการเคไซเบอร์ แบงก์กิ้งของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาด คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). แนวนโยบาย/แนวปฏิบัติระบบการชำระเงิน. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2564, จาก https://www.bot.or.th/Thai/PaymentSystems/StandardPS/Pages/default.aspx.
ธนาภิญญ์ อัตตฤทธิ์ และคณะ. (2563). ทัศนคติ ความไว้วางใจที่มีต่อความตั้งใจใช้งานนวัตกรรมทางการเงินในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(5), 29-43.
บุษรา ประกอบธรรม. (2554). การศึกษาการยอมรับเครือข่ายสังคมออนไลน์ของนักศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. วารสารสุทธิปริทัศน์, 27(81), 93-108.
ปวิตรา สอนดี และชุติมา เกศดายุรัตน์. (2561). การยอมรับนวัตกรรมโมบายแบงค์กิ้งแอพพลิเคชั่นของกลุ่มผู้สูงอายุ. การค้นคว้าอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
วิจัยธนาคารกรุงศรี. (2564). บริการธนาคารเพื่อผู้สูงอายุในยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2564, จาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/ri-elders-20.
ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน. (2562). Mobile Banking ตัวช่วยแห่งยุคดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2564, จาก https://www.gsbresearch.or.th./
สิริพร ฑิตะลำพูน และคณะ. (2560). การยอมรับเทคโนโลยีแบบจำลองแทมม์. วารสารการสื่อสารมวลชน, 5(1), 64-75.
เอกพงศ์ มุสิกะเจริญ. (2556). A Technology Acceptance Model หรือ TAM. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2564, จาก www.clinictech.most.go.th.
Contactless Payment. (2563). การใช้ Mobile Banking และ e-Wallet เติบโตต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2564, จาก https://www.moneyandbanking.co.th/article/news/kresearch-contactless-payment-mobile-banking-e-wallet-covid-1/.
Etzel, Michael J, Bruce J. Walker and William J. Stanton. (2004). Marketing. 13th ed. Boston: Mcgraw-Hill, Inc.
George, R. (2007). A TAM Framework to Evaluate User’ Perception towards Online Electronic Payment. Journal of Internet Banking and Commerce: December, 12(3), 1-6.
Kotler, Philip. (1997). Principles of Marketing. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Luarn, P. and Lin, H.H. (2005). Toward an Understanding of the Behavioral Intention to Use Mobile Banking. Computers in Human Behavior, 21(6), 873-891.
Techsauce. (2564). สรุปพฤติกรรมการใช้งาน Digital และอินเทอร์เน็ตของไทย 2021. สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2564, จาก https://techsauce.co/tech-and-biz/digital-2021-overview-report.
Wen-shan Yeh, Y., & Chen, Y.Y. (2006). Determinants of User Adoption of E-payment Service. Journal of American Academy of Business, 17(6), 190-198.