แนวทางการพัฒนาการให้บริการของสถานตรวจสภาพรถเอกชนในสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อิงอร ชินชัย
กฤตติกา แสนโภชน์
ศุภกฤต ปิติพัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 มีจุดมุ่งหมายเพื่อตรวจสอบโมเดลการวัดคุณภาพการให้บริการของสถานตรวจสภาพรถเอกชนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใช้บริการสถานตรวจสภาพรถเอกชนในเขตอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานีปี พ.ศ. 2564 จำนวน 400 ราย สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลการศึกษา พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ระยะที่ 2 มีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาการให้บริการของสถานตรวจสภาพรถเอกชน กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการให้บริการของสถานตรวจสภาพรถเอกชน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี จำนวนทั้งสิ้น 12 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อสรุปเป็นแนวทางการพัฒนา ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการพัฒนามี จำนวน 6 แนวทาง ได้แก่ การพัฒนาความเป็นรูปธรรมของสถานบริการ การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้า การสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า การตอบสนองความต้องการของลูกค้า การดูแลเอาใจใส่ลูกค้า และการพัฒนาคุณภาพระบบสารสนเทศสำหรับลูกค้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. (2564). กรมการขนส่งทางบก กำชับ 8 มาตรการคุมเข้มความปลอดภัยในสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ทั่วประเทศ ป้องกันโควิด 19. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=2933

กรมการขนส่งทางบก. (2565). สถิติการขนส่ง. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565, จาก https://web.dlt.go.th/statistics/

กองวิจัยเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2565). ความท้าทายของการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ไทยในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.

กิตติพล ยาลังกา. (2554). การวิจัยสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนา การจัดตั้งสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.): กรณีศึกษา สถานตรวจสภาพรถ “กิตติพล” ตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ชลอ พิมพ์หนู, อิมรอน มะลูลีม, และบุญเรือง ศรีเหรัญ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการดำเนินการของสถานตรวจสภาพรถเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ดาเรศ เรียบร้อย. (2562). ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารราชนครินทร์, 16(36), 23-30.

เบญจรัตน์ ศิริชู, เที่ยงธรรมสิทธิ จันทเสน, นิคม ลนขุนทด และอัษฎา วรรณกายนต์. (2564). การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานแอปพลิเคชันธุรกิจตรวจสภาพรถ. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(2), 1-13.

ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถามสำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18 (มกราคม – ธันวาคม), 375-396.

ปัญชลีย์ ศิริเอก (2553). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานตรวจสภาพรถเอกชนของผู้ใช้รถยนต์ในอำเภอเมืองราชบุรี. การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาหนัน เวฬุวัน. (2564). การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการปฏิบัติงานของฝ่ายการศึกษา สำนักงานเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid - 2019). รายงานการศึกษาอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิญชุตา สินแสงวัฒน์. (2562). การรับรู้การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าสถานตรวจสภาพรถเอกชนในจังหวัดนราธิวาส. สารนิพนธ์ ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วิรัตน์ ชนะสิมมา และ ทตมัล แสงสว่าง. (2564). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของประชาชนที่ชำระภาษีท้องถิ่นกับเทศบาลตำบลหนองนาคำ กรณีศึกษาตำบลบ้านโคก อำเภอหนองนาคำ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 15-28.

สมบัติ นามบุรี. (2562). ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในงานรัฐประศาสนศาสตร์. วารสารวิจัยวิชาการ, 2(1), 183-197.

สายสวาท แสงเมา และ เสนีย์ พวงยาณี. (2561). การรับรู้ประสิทธิผลการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ความไว้วางใจคุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าที่ใช้บริการสถานตรวจสภาพรถเอกชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(1), 23-33.

สุปรียา หิรัญ. (2558). คุณภาพการให้บริการของฝ่ายตรวจสภาพรถ สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3. สืบค้นเมื่อ 31 กรกฎาคม 2565, จาก http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/57930043.pdf.

สุรเชษฐ์ โล่ทองคำ. (2562). รูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) ในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 17(2), 207-217.

Bollen, K. A. (1989). Structural Equations with Latent Variables. New York: Wliey.

Cortina, J. M. (1993). What is coefficient alpha: An examination of theory and applications? Journal of Applied Psychology,78(1), 98-104.

Diamantopoulos, A. & Siguaw, J. A. (2000). Introduction to LISREL: A guide for the uninitiated. London: SAGE.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis. (7th Ed.). Harlow, United Kingdom: Pearson Education.

Kelloway, E.K. (2015). Using Mplus for Structural Equation Modeling; A Researcher’s Guide. CA: Sage.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1988). SERVQUAL: a multiple-item method for measuring consumer perceptions of service quality. Journal of Retailing, 64(1), 12–40.

Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum.

Zaidi, S. F. H., &Qteishat, M. K. (2012). Assessing e-government service delivery (government to citizen). International Journal of eBusiness and eGovernment Studies, 4(1), 45–54.