การพัฒนาศักยภาพศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จและมีแนวปฏิบัติที่ดี และศึกษาการพัฒนาศักยภาพศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน เป็นการวิจัยแบบผสาน (Mixed Metบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ศึกษาศักยภาพของกลุ่มเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จและมีแนวปฏิบัติที่ดี และศึกษาการพัฒนาศักยภาพศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน เป็นการวิจัยแบบผสาน (Mixed Method) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการวิจัย พบว่า ด้านศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนจังหวัดศรีสะเกษจัดตั้งเพื่อจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์และสร้างเครือข่ายให้เกิดความยั่งยืน ด้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย สินค้าได้รับมาตรฐานและจ่ายเงินปันผล ด้านการพัฒนาศักยภาพได้นำสมาชิกในศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตร จำนวน 20 คน อบรมการเขียนแผนธุรกิจ โดยใช้ Business Model Canvas เป็นต้นแบบ ผลการทดสอบผู้เข้าอบรม (Pre-Test) พบว่า ความรู้ความเข้าใจในระดับ ปานกลาง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.75 และการทดสอบผู้เข้าอบรม (Post-Test) พบว่า ความรู้ความเข้าใจในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.45hod) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเป็น ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน ผลการวิจัย พบว่า ด้านศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตรชุมชนจังหวัดศรีสะเกษจัดตั้งเพื่อจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์และสร้างเครือข่ายให้เกิดความยั่งยืน ด้านกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จ (Best Practice) คือ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ผลิตภัณฑ์มีความหลากหลาย สินค้าได้รับมาตรฐานและจ่ายเงินปันผล ด้านการพัฒนาศักยภาพได้นำสมาชิกในศูนย์จำหน่ายสินค้าเกษตร จำนวน 20 คน อบรมการเขียนแผนธุรกิจ โดยใช้ Business Model Canvas เป็นต้นแบบ ผลการทดสอบผู้เข้าอบรม (Pre-Test) พบว่า ความรู้ความเข้าใจในระดับ ปานกลาง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 2.75 และการทดสอบผู้เข้าอบรม (Post-Test) พบว่า ความรู้ความเข้าใจในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.45
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). ปัจจัยการผลิตทางการเกษตร. กรุงเทพมหานคร : กรมวิชาการเกษตร.
กรมส่งเสริมการเกษตร. (2564). คู่มือการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชน (ปรับปรุงปี 2555). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ฉัตรชัย อินทสังข์และปวีณา อาจนาหวัง. (2558). ต้นแบบกลยุทธ์การตลาดสำหรับพัฒนาผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชนเพื่อการค้าระดับประเทศสู่ความยั่งยืน กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มี
ระดับต่ำกว่า 3 ดาวในเขตอำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
พิษณุ บุญนิยมและกล้าณรงค์ สุทธิรอด. (2561). การพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพวิสาหกิจชุมชนสู่เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดกำแพงเพชร พิจิตรและสุโขทัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2558). เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, สนพ. ม.
วันรักษ์ มิ่งมณีนาคิน. (2558). หลักเศรษฐศาสตร์จุลภาค. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมศาสตร์, สนพ. ม.
ศิริพร กิรติการกุล และคณะ. (2555). การสร้างคุณค่าของไก่ประดู่หางดำเชียงใหม่สู่การรับรู้ของผู้บริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.).
ศูนย์จำหน่วยสินค้าเกษตรชุมชนศรีสะเกษ. (2563). Sisaket Green Shop. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://sisaketgreenshop.blogspot.com/2019/08/Green-Shop.htm (วันที่ วันที่ 30 สิงหาคม 2567)
ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7. (2562). Business Model Canvas คืออะไร. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://ipc7.dip.go.th/th/category/2561-m10-m-idea/business-model. (วันที่ 30 สิงหาคม 2567)
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2566. สถิติการส่งออกสินค้าเกษตรไทย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://tpso.go.th/news/2402-0000000014. (วันที่ 1 กันยายน 2567)
สำนักงานเกษตรจังหวัดศรีสะเกษ. 2567. ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดศรีสะเกษ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.opsmoac.go.th/sisaket-dwl-files-441491791126. (วันที่ 24 สิงหาคม 2567)
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2567). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_DraftFinal.pdf.(วันที่ 25 สิงหาคม 2567)
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. 2561. World Agricultural Production Supply and Demand Estimates and Grain: World Markets and Trade (United States Department of Agriculture: USDA) ฉบับเดือนพฤศจิกายน 2561. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.thailandplus.tv/archives/34826. (วันที่ 1 กันยายน 2567)
อริญชยา อดุลย์เดชและพรรณา ไวคกุล. (2560). ความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเพาะเห็ดบ้านช่องโครุ่งเรือง ตำบลรังกาใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา. มนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ ส่งเสริมการเกษตร วิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา.