ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อคุณค่าของตราสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาร้า OTOP ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

พีรยา โกลัท
สืบชาติ อันทะไชย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านข้อมูลประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อคุณค่าของตราสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาร้า OTOP ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อคุณค่าของตราสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาร้า OTOP ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี และ 3) เพื่อศึกษาตัวแปรพยากรณ์ที่มีผลต่อคุณค่าของตราสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาร้า OTOP ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริโภคที่บริโภคปลาร้าในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 400 คนโดยใช้เทคนิควิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก Convenience Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 41 ปีขึ้นไป สถานภาพโสด และรายได้ต่อเดือนระหว่าง 20,000 บาทขึ้นไป ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้คุณค่าตราสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาร้า OTOP ในจังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือ ด้านกระบวนการ ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคา  ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการขาย ตามลำดับ ซึ่งปัจจัยทั้ง 7 ด้าน ส่งผลต่อความรับรู้คุณค่าตราสินค้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

How to Cite
โกลัท พ., & อันทะไชย ส. (2025). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อคุณค่าของตราสินค้าผลิตภัณฑ์ปลาร้า OTOP ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 7(2), 30–44. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2798
บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. (2563). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้านประจำปี พ.ศ.2563. สืบค้น 20 ตุลาคม 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statTDD/views/showDistrictData.php?rcode=80&statType=1&year=63.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี. (2565). แผนปฏิบัติราชการ 5 ปี (พ.ศ. 2565-2569). อุดรธานี: สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี.

นทิชา ออมสิน. (2564). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(4Ps) ที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจซื้อน้ำปลาร้าปรงุรสในภาชนะปิดสนิทของคนวัยทำงานในอำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสุโขทัย.

นพพร ราชูโส. (2555). การศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภค กรณีศึกษา กลุ่มผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ปลาร้าท่าตูม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.

นลินทิพย์ ภัคศรีกุลกำธร. (2564). ผลิตภัณฑ์ปลาร้า : ธุรกิจเล็กพริกขี้หนู…ส่งออกปีละกว่า 20 ล้านบาท. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://positioningmag.com.

นิภา ชุณหภิญโญกุล, จิดาภา ก้อนทอง, ดรุณี โกศล และนิศาชล วรรณทวี. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ระดับ 5 ดาว ของผู้บริโภคในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 9(2), 17-37.

พิศาล พงศาพิชณ์. (2561). ปลาร้าไทยตีตลาดทำเงินปีละ 800 ล้าน. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://www.thaipost.net/main/detail/7454.

วิริยา จันทร์ทอง. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสั่งซื้ออาหารออนไลน์ผ่านฟู้ดแพนด้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สืบชาติ อันทะไชย. (2563). การจัดการตราสินค้า. อุดรธานี: บ้านเหล่าการพิมพ์.

อนันต์ นาเมืองรักษ์. (2564). การศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้อน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จรูปของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อาภร สุนทรชัย, มนันญา ทองบ่อ และ ยุพดี ทองโคตร (2558). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าปลาร้าบองท่าตูม (OTOP) ของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. ใน การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนา เพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน” ครั้งที่ 2. หน้า 417-424. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.