ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ทัตเทพ ทวีไทย
ชุดาพร สอนภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านความผูกพัน และปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ พนักงานที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยด้านแรงจูงใจ ปัจจัยด้านความผูกพัน และปัจจัยด้านประสิทธิภาพในการทำงานอยู่ในระดับมาก 2) โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีการตรวจสอบความกลมกลืนของรูปแบบโดยมีค่าสถิติไค-สแควร์ (x2) = 89.996, ที่องศาอิสระ (df) = 57, x2/df=1.578, P = 0.003, ค่าดัชนีความสอดคล้อง (GFI) = 0.97, ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.93, ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยของส่วนเหลือคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) = 0.038, ค่าดัชนีค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือ (RMR) = 0.021 3) โมเดลประกอบด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน และปัจจัยความผูกพันในองค์การ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานผ่านปัจจัยแรงจูงใจในการทำงาน และปัจจัยความผูกพันในองค์การ ผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา แก้วนารี. (2557). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติงานของหัวหน้าส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเนชั่น.

ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์ และคณะ. (2546). กลยุทธ์การสร้างองค์การคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ธรรมกมลการพิมพ์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2542). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ธนาวุฒิ ประกอบผล. (2562). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฎในเขตกรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น, 13(3), 26-41.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2550). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: วี.อินเตอร์ พรินท์.

นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิศาชล ยืนยง และชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา (2564) การสำรวจความคิดเห็นของพนักงานต่อรูปแบบการจัดการองค์การและการประเมินประสิทธิภาพของตนเองของพนักงานเพื่อปรับรูปแบบองค์การให้แข่งขันได้ภายใต้ความไม่แน่นอนทางธุรกิจในยุคดิจิทัล: กรณีศึกษา บริษัททริปเปิ้ล เอส (ประเทศไทย) จำกัด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(2), 105-116.

ประสพชัย พสุนนท์. (2555). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ: ท้อป.

พีระพัฒน์ สมศรี และธัญนันท์ บุญอยู่. (2564). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของกรมชลประทานปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 18(1), 172-183.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างด้วย AMOS. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิรดา เพชรแก้วกุล และเฉลิมพร เย็นเยือก. (2563). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) กรณีศึกษา ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง. วารสารรัชต์ภาคย์, 14(33), 75-90.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2542). องค์การและการจัดการฉบับสมบูรณ์. (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: ธีระฟีล์มและไซเท็กซ์.

สวรรค์ชัย กิติยานันท์. (2552). ความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานการกีฬาแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยสยาม.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). พนักงานที่ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2565, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/home.aspx

สุทธนู ศรีไสย์. (2551). สถิติประยุกต์สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพาณี สฤษฎ์วาณิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ แนวคิด และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภมาส อังศุโชติ และคณะ. (2557). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์:เทคนิคการใช้โปรแกรม LIDREL. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์การ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 32-46.

อภิญญา อิงอาจ และคณะ. (2564). การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง. เอกสารประกอบการอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเพื่อการวิจัย หลักสูตร Basic SEM with AMOS. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อรุโณทัย จันทวงษ์ และประสพชัย พสนนท์. (2561). ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานขายในธุรกิจค้าปลีกสินค้าปลอดอากรของไทย. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 7(1), 83-99.