ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือของผู้ประกอบการตลาดผ้านาข่า อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อภิเดช อภิพัฒน์ภาดุล
ปาลิดา ศรีศรกำพล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือออนไลน์ ตลาดผ้านาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือในตลาดผ้านาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี ซึ่งเป็นวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยการใช้แบบสอบถาม (Questionnaires) ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบียนมาตรฐาน t-test One Way ANOVA การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 32 - 38 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 - 35,000 บาทต่อเดือน ผู้บริโภคมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านการให้บริการส่วนบุคคล และด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือของผู้บริโภคในตลาดผ้านาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีโดยรวมและรายข้อไม่แตกต่างกัน แต่ปัจจัยส่วนบุคคลจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพที่แตกต่างกันมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือของผู้บริโภคในตลาดผ้านาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด พบว่า ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว ปัจจัยด้านการให้บริการส่วนบุคคล และปัจจัยด้านราคา มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อผ้าทอมือของผู้ประกอบการในตลาดผ้านาข่า อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี. (2559). รายงานสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี ปี 2558 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558). อุดรธานี: สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2561). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : สามลดา.

กิติพร ดวงแก้ว และ พีรพงษ์ ฟูศิริ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลประกอบการของธุรกิจเสื้อผ้าโบ๊เบ๊ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาดและการบริหารธุรกิจ, 3(2), 75-94.

ขวัญจิรา พึ่งพิน. (2555). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าสตรีในจังหวัดภูเก็ต. สารนิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.

ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนจ่านกร้อง จังหวัดพิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, จาก http://www.edu.nu.ac.th/researches/view_is.php?id=577.

จิตรานุช ธาตุทอง. (2558). ประวัติความเป็นมาตลาดผ้าบ้านนาข่า. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2564, จาก http://nakauod.blogspot.com.

จุฑามาศ เฟื่องโชติการ, ลัสดา ยาวิละ และ รัตนา อิทธิอ่วม. (2563). ส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าบนสื่อออนไลน์เฟซบุ๊กของประชาชนในจังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 14(1), 212-228.

ดร.สุทิน ชนะบุญ. (2560). บทที่ 6 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน. สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยด้านสุขภาพเบื้องต้น. ขอนแก่น: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

ธีระ กุลสวัสดิ์. (2558). การหาคุณภาพของเครื่องมือในการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2564, จาก https://km.buu.ac.th/public/backend/upload/article/file/document 144620064 347362700.pdf.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปรารถนา พะสิม และ วิไลลักษณ์ รัตนเพียรธัมมะ. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภค. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 345 – 360.

มาลินี คำเครือ และ ธีระพันธ์ โชคอุดมชัย. (2562). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าโอทอป ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 6(1), 1-8.

ศุภกฤต ปิติพัฒน์, ปราการ พิพัฒน์สูงเนิน และ สุนิตย์ เหมนิล. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้ปัจจัยเชิง

กลยุทธ์ที่กำหนดอุปสงค์เสื้อผ้าสำเร็จรูปในตลาดโบ๊เบ๊อุดร. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 13(1), 41-54.

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, (2564). สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนธันวาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564, จาก https://www.thaitextile.org/th/insign/Detail.2893.1.0.html.

สหพัชร์ ชนะชัยสิทธิ์, อิสยาภรณ์ กิตติอังกูรพร และ พัชรกันต์ มิมิตรศดิกุล. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ผ่านช่องทางตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารสุทธิปริทัศน์, 35(1), 729-738.

สุธัญรัตน์ ใจขันธ์. (2554). การศึกษาพฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)

อรุโณทัย ปัญญา. (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นผ่านสังคมออนไลน์ (เพซบุ๊ก) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยเขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2564, จาก http://www.graduate. cmru.ac.th/core/km_file /494.pdf

Yamane, T. (1970). Statistic : an Introductory Analysis. 2nd ed. New York: Harper & Row.