สภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน ในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

ธวัชชัย รัชสมบัติ
กัญญาณัฐ รัตนประภาธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 784 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านสภาพ แวดล้อมทางกายภาพ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพการปฏิบัติงานโดยรวม ด้านปริมาณ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 2) สภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมทางจิตใจ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพการปฏิบัติงานโดยรวม ด้านปริมาณ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 3) สภาพแวดล้อมการทำงาน ด้านสภาพแวดล้อมทางความมั่นคงและปลอดภัย มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพการปฏิบัติงานโดยรวม ด้านปริมาณ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน อย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่า สภาพแวดล้อมการทำงาน มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับคุณภาพการปฏิบัติงานโดยรวม ดังนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ควรตระหนักและให้ความสำคัญเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมการทำงาน เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้ผลสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ บุคลากรในองค์กรมีความสุข และมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหาสารคามได้รับประโยชน์สูงสุด สามารถวางแผนการบริหารงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2562). ค้นหาบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 27 ธันวาคม 2562, จาก www.pd.msu.ac.th/pd4/hr-สถิติบุคลากร.

ชูชาติ จุลพันธ์. (2552). การรับรู้สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอุบัติเหตุในการทำงานของพนักงานสายการผลิต ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานของบริษัท โรแยลซีรามิคอุตสาหกรรมจำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

นภาพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พัชรา สัทธิง. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ทางสภาพแวดล้อมในการทำงานกับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไปเขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (2562). ข้อมูลทั่วไปของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. สืบค้น 23 ธันวาคม 2562, จาก http://www.web.msu.ac.th/msucont.php?mn=mhistory.

เยาวลักษณ์ กุลพานิช. (2553). สภาพแวดล้อมกับประสิทธิภาพของงาน. กรุงเทพฯ : วัฒนาพานิช.

รจนา แข็งขัน. (2551). ผลกระทบของประสิทธิภาพการจัดการความรู้ที่มีต่อคุณภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. วิทยานิพนธ์ปริญญาบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รักชาติ แดงเทโพธิ์ และคณะ. (2562). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการโสตทัศนศึกษาในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(4). 25-27.

รุ่งรัตนา เขียวดารา. (2546). ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน. กรุงเทพฯ :สำนักงานหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ศิวพร โปรยานนท์. (2552). พฤติกรรมของผู้นำและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความสร้างสรรค์ในงานบุคลากรกรณีศึกษา องค์การธุรกิจไทยที่มีนวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สุธาทิพย์ รองสวัสดิ์. (2554). ปัจจัยการรับรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานที่มีผลต่อพฤติกรรมในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ ประจำการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Aaker, D. A., Kumar, V., and Day, G. S. (2005). Marketing research. (7th ed.). New York : John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Decision Marking. (4th ed.). USA : John Wiley & Sons.

Nunnally, J. C. (1978). Psychometric theory. (2nd ed.). New York : McGraw-Hill.

Nunnally, J. C. and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory. (2nd ed.). Test and Measurement New York : McGraw-Hill.

Peterson, E.,& Plowman, E. G. (1989). Business organization and management. Homewood, ILL : Richard D. Lrwin.