การจัดการตลาดดิจิทัลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทัพหลวง กะละแมลุงพร ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

Main Article Content

ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์
รุ่งทิวา ชูทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเป็นการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีการตลาดดิจิทัลกะละแมลุงพรสร้าง Website การพัฒนาเพจ Facebook โปรไฟล์ สโลแกน วิธีการโพสต์ ติดแฮชแท็กและเพิ่มช่องทางการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ที่สะดวกขึ้น โดยการสแกน QR Code ที่เชื่อมต่อกับ Line กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทัพหลวง กะละแมลุงพร ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมการศึกษาครั้งนี้เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เครื่องมือวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview Questions) และเครื่องมือวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) Google Form ที่ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการหาค่าร้อยละ (Percentage) ใช้ในการอธิบายค่าร้อยละข้อมูล สถิติที่ใช้ในการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ใช้ในการหาค่ากลางจากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างพบว่า ความคิดเห็นของผู้บริโภคที่มีต่อการจัดการตลาดดิจิทัลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทัพหลวง กะละแมลุงพร ตำบลทัพหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ด้านการการพัฒนาเพจ Facebook อยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.01) เมื่อพิจารณาในรายข้อ พบว่า ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การจัดทำและพัฒนา Page Facebook สร้างการรับรู้มากขึ้น (x̄ = 4.08) รูปภาพสินค้าและวีดีโอมีความดึงดูดและน่าสนใจ (x̄ = 4.05) ข้อมูลข่าวสารเนื้อหาต่าง ๆ มีความเหมาะสม (x̄ = 4.02) การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน (x̄ = 3.99) QR Code ทำให้มีความสะดวกต่อการใช้งานมากขึ้น (x̄ = 3.98) และ Page Facebook มีความน่าสนใจและน่าเชื่อถือ (x̄ = 3.95) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กสิณ จารุวรรณ. (2559).สรุปกลยุทธ์การตลาดผ่าน Instagram ปี 2017 ดึงดูดลูกค้าด้วย Visual Content. สืบคืนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก https://stepstraining.co/trendy/how-to-create-an-instagram-marketing-strategy.

ธนพัฒน ชิตโสภณดิลก. (2558). กลยุทธการสื่อสารบน Facebook Fanpage Goal Thailand ที่มีผลต่อการเขาชมเว็บไซต์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก http://irid.bu.ac.th/research_db/re_authorgroup.php?fullname.

ปิยวิท เจนกิจจาไพบูลย์ (2540). ประวัติความเป็นมาของเว็บไซต์. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก https://sites.google.com/site/rudchanonm512557/prawati-khwam-pen-ma-khxng-websit

พศิน ปิติธนฤทธิ์ (2552). สื่อสังคม. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จากhttps://news.siamphone.com/news-31061.html

วิน รัตนาธีราธร (2553) ทัศนคติต่อการทำการสื่อสารทางการตลาดในรูปแบบ Viral video และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจแชร์ออนไลน์วีดีโอของผู้ใช้ Facebook. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการเงิน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิไลลักษณ์ ซ่อนกลิ่น และ ศิริชัย สุวรรณประภา. (2551). การโฆษณา. กรุงเทพฯ: เจริญรุ่งเรืองการพิมพ์.

ศุจิกา ดวงมณี. (2539). การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน World Wide Web ของสื่อมวลชนไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สุภัค ถาวรนิติกุล. (2557). การศึกษาแนวทางเพื่อพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 7(2), 1137-1148.

Ezythaicooking. กะละแม ขนมไทย 9 มงคล. สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_ga-la-mair_th.html.

Yang, T. A., Kim, D. J., Dhalwani, V., and Vu, T. K. (2008). The 8C framework as a reference model for collaborative value webs in the context of web 2.0. In The 41st Annual Hawaii International Conference on System Sciences, Hawaii, USA, 319-319