ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ของพนักงานกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานครระเบียบวิจัยใช้การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประชากรเป็นพนักงานที่ทำงานในกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร มีจำนวน 6,764 คน คำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้จำนวน 378 คน โดยคำนวณจากสูตรของ Taro Yamane ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 การสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน สถิติที่ใช้ในการวิจัยนี้คือค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าความผูกพันต่อองค์การด้านจิตใจและบรรทัดฐานส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของพนักงานกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร

Article Details

How to Cite
ชัยกิจอุราใจ ป. (2024). ความผูกพันต่อองค์การที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ ของพนักงานกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(4), 59–70. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2837
บท
บทความวิจัย

References

วรรณวิมล อัมรินทร์นุเคราะห์ และคณะ. (2564). ปัจจัยความพึงพอใจในการทำงานและความผูกพันต่อองค์การที่ส่งต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การของบุคลากรสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 4(1). 76-94.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2560, จาก https://www.nesdc.go.th.

สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2561). รายงานพนักงานระดับบริหารและพนักงานระดับปฏิบัติการของกลุ่มบริษัทที่ทำงานเกี่ยวข้องกับที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมในเขตกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ.2561. สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2561, จาก https://www.onep.go.th.

Allen, N.J. and Meyer, J.P. (1990). The measurement and antecedent of affective, continuance and normative commitment to the organization. Journal of Occupational Psychology, 63. 1-18.

Chaikidurajai, P. (2018). Quality of Work Life Affecting Organizational Commitment of Employees in Electrical, Electronics and Telecommunications Industry Group in Thailand. International Journal of Management, Business, and Economics, 5(2). 81-91.

Chaikidurajai, P. (2017). The Impact of Compensation on Organizational Citizenship Behavior (OCB) of Employees in Electrical, Electronics and Telecommunications Industry Group in Thailand. International Journal of Management, Business, and Economics, 4(3). 67-79.

Chaikidurajai, P. (2015). Factors Affecting Organizational Citizenship Behavior (OCB) and Performance Efficiency of Staff in Industry Group. International Journal of Management, Business, and Economics, 2(3). 111-129.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of Psychological Test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Gallup, C. (2010). State of the American Workplace Employee Engagement Insights or U.S. Business Leaders. Washington, D. C: Gallup.

Organ. (1988). Organizational Citizenship Behavior: The Good Soldier Syndrome. Massachusetts: Lexinton Books.

Yamane, P. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Tokyo: Haper International Edition.