การพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน การท่องเที่ยวสะพานหินเชิงอนุรักษ์ เพื่อรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย

Main Article Content

ศศิประภา พรหมทอง
ปริญญา กัณหาสินธุ์
กนกกานดา ใต้จันทร์กรอง
สุชีรา สินทรัพย์

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวโฮมสเตย์ไทย มีความต้องการที่จะพัฒนาโฮมสเตย์ให้ได้รับมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย สร้างความพร้อมในการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวและมีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางออฟไลน์และออนไลน์ให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักชุมชนเพิ่มมากขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพ โฮมสเตย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวสะพานหินเชิงอนุรักษ์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบโฮมสเตย์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวสะพานหินเชิงอนุรักษ์ โดยรูปแบบการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการลงสำรวจพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวและโฮมสเตย์สะพานหิน การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม จากสมาชิกในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนการท่องเที่ยวสะพานหินเชิงอนุรักษ์จำนวน 10 ราย นักท่องเที่ยวจำนวน 10 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า จุดแข็งของกลุ่มโฮมสเตย์ ได้แก่ 1) ผู้นำกลุ่มมีความเข้มแข็งและมีภาวะผู้นำสูง 2) การบริหารจัดการกลุ่มที่ดีเป็นระบบ 3) ความพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่อยู่เสมอ จุดอ่อน ได้แก่ 1) ระยะทางแหล่งท่องเที่ยว และโฮมสเตย์ค่อนข้างไกล ซับซ้อน 2) การติดต่อสื่อสาร ประสานงานเป็นไปได้ยาก โอกาส ได้แก่ 1) นักท่องเที่ยวมีกระแสเทรนสัมผัสวิถีวัฒนธรรมของชุมชน 2) สถานที่ท่องเที่ยวมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโซเซียลมีเดีย อุปสรรค ได้แก่ 1) การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 2) เส้นทางคมนาคมไม่สะดวกสบาย 3) กระแสนิยมการท่องเที่ยวเปลี่ยนไปตามเทรน มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย มีการกำหนดดัชนีมาตรฐานไว้ 10 ด้าน ประกอบไปด้วย 1) ด้านที่พัก 2) ด้านอาหาร 3) ด้านความปลอดภัย 4) ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าบ้านและสมาชิก 5) ด้านรายการนำเที่ยว 6) ด้านทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม 7) ด้านวัฒนธรรม 8) ด้านสร้างคุณค่าและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ชุมชน 9) ด้านบริหารของกลุ่ม 10) ด้านประชาสัมพันธ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า เรียงลำดับค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านอาหาร 2) ด้านที่พัก 3) ด้านรายการนำเที่ยว 4) ด้านอัธยาศัยไมตรีของเจ้าบ้านและสมาชิก 5) ด้านวัฒนธรรม ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า สมาชิกในกลุ่มได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาโฮมสเตย์สะพานหิน โดยได้นำเอาความรู้จากในห้องเรียนและการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกต่าง ๆ เพื่อที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาโฮมสเตย์ให้ได้ตามมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย ที่จะสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเข้าพัก มาเที่ยวที่บ้านโนนสวรรค์เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้คนในชุมชนมีรายได้เสริม กลุ่มวิสาหกิจเติบโตและมีกำไรที่เพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกรัตน์ ดวงพิกุลและคณะ. (2561). โฮมสเตย์กับการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดน่าน, เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

กรประพัสสร์ เขียวหอม และพรพันธุ์ เขมคุณาศัย. (2560). องค์ความรู้งานวิจัยโฮมสเตย์ในบริบทของสังคมไทย (พ.ศ. 2544 - 2558). ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 8, หน้า 161-173. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กรวรรณ สังขกร. (2555). ความรู้พื้นฐานและมาตรฐานการจัดโฮมสเตย์. เอกสารประกอบการบรรยาย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

กาญจนา สุคัณธสิริกุล. (2556). การพัฒนาศักยภาพการตลาดบริการของโฮมสเตย์ที่ได้รับรองมาตรฐานในจังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี.

การท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวง. (2558). มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย Thailand Homestay Standard. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

จามจุรี ผาสุราช และ ศรัญญา สุขประเสริฐ. (2562). ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวคำชะโนด: กรณีศึกษาบ้านโนนเมือง ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(5), 49-60.

ทิวาวัลย์ ต๊ะการ บังอร ฉัตรรุ่งเรือง เสมอแข สมหอม และณัฐิยา ตันตรานนท. (2559).การพัฒนาแบบประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยสำหรับการพัฒนาระบบการให้คำแนะนำในการเข้ารับการตรวจประเมินเพื่อให้ได้การรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 3, หน้า 127-140. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ปานแพร เชาว์ประยูร และคณะ. (2556). การประเมินการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท บ้านเมืองขอน ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พัฒนาบริการท่องเที่ยว, สำนักงาน. (2555). ขอความร่วมมือแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินมาตรฐานโฮมสเตย์ไทยระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาบริการท่องเที่ยว.

พิมพ์พิศา จันทร์มณี. (2562). แนวทางการพัฒนาโฮมสเตย์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน วอแก้ว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง, รายงานวิจัย วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.

ศศิประภา พรหมทอง และคณะ. (2562) .การพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาแหล่งท่องเที่ยวสะพานหิน ตำบลท่าลี่ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. รายงานวิจัย คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

สริตา ศรีสุวรรณ และคณะ. (2562). แนวทางการจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ให้คงเสน่ห์ และแตกต่างอย่างมีอัตลักษณ์เพื่อตอบโจทย์การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. รายงานวิจัย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.