แนวทางการพัฒนาการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบ การจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ กรณีศึกษา จังหวัดเลย

Main Article Content

สกุลไทย ป้อมมะรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน สภาพปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเลย 2) ประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน และผลลัพธ์การดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดเลย 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานและผลลัพธ์การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และ 4) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในรูปแบบการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่ ลักษณะการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบบันทึกการสนทนา และแบบสัมภาษณ์ เก็บรวมรวมข้อมูลจากกลุ่มการผลิตสินค้าและกลุ่มการบริการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) สถิติทดสอบค่าเอฟ (F-test) สำหรับวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ เพียร์สัน (Pearson correlation coefficient) พบว่า ประสิทธิผลในส่วนการดำเนินงานโดยรวมมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากทั้งสองกลุ่ม กลุ่มการผลิตสินค้า (gif.latex?\bar{x} =3.64) และกลุ่มการบริการ (gif.latex?\bar{x} =3.65) ส่วนผลลัพธ์การดำเนินงานมีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากทั้งสองกลุ่มเช่นเดียวกัน กลุ่มการผลิตสินค้า (gif.latex?\bar{x} =3.65) และกลุ่มการบริการ (gif.latex?\bar{x} =3.66) ทิศทางวิสาหกิจชุมชนของกลุ่มการผลิตสินค้าและกลุ่มการบริการ มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 จากการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้นำรูปแบบการจัดการธุรกิจการค้าสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในดำเนินงาน ส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการเกษตร. (2548). คู่มือการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2561, จาก http://www.sceb.doae.go.th/myweb_Sceb40.

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช และ บุญฑวรรณ วิงวอน (2563). อิทธิพลของภาวะการเป็นผู้ประกอบการ การบูรณาการองค์ความรู้ และนวัตกรรมที่มีต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(2), 308-324.

ธงพล พรหมสาขา ณ สกลนคร, และ อุทิศ สังขรัตน์. (2556). แนวทางการพัฒนาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตลุ่มทะเลสาบสงขลา. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2563, จาก http://fs.libarts.psu.ac.th/research/abstract/54.

ธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2559). ความสำเร็จของธุรกิจท้องถิ่นด้วยการจัดการนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้สื่อสังคมออนไลน์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(3), 113-125.

เธียรธวัช สุขะ. (2563, 1 กันยายน). นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ. อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย. สัมภาษณ์.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ.

นฤมล ญาณสมบัติ และ เมธารัตน์ จันตะนี. (2562). การจัดการการค้าสมัยใหม่ในยุคดิจิทัล. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 21(2), 209-218.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. 2562. “สวัสดิการสังคมของเด็กและเยาวชน: ความเหลื่อมล้ำ การเข้าถึง และโอกาส.” รัฐสภาสาร, 67(2), 99-115.

ปิยะดา พิศาลบุตร. (2561). กลยุทธ์การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปราจีนบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 8(1), 105-120.

มนัสชนก อริยะเดช และ บุษกรณ์ ลีเจ้ยวะระ. (2563). Journal of Modern Learning Development, 5(5), 102.

เรวดีพานิช. (2559). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 36(3), 79-93.

ลักขณา อินทร์บึง ภูวนิดา คุนผลิน และ พจ ตู้พจ (2564). การจัดการสู่ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 235-251.

วิมลสิริ กูกขุนทด และคณะ. (2563). การพัฒนาวิสาหกิจชุมชนสู่ความสำเร็จ: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตและพัฒนาการแปรรูปกล้วยตำบลระหาน อำเภอบึงสามัคคี จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ (CSD สัมพันธ์) ครั้งที่ 19 “นวัตกรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน” หน้า 671-678. ลำปาง: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุพัตรา คำแหง, ศิวารัตน์ ณ ปทุม และ ปริญ ลักษิตามาศ. (2561). การตลาดสมัยใหม่ของผู้ประกอบการใหม่บนพื้นฐานประเทศไทย 4.0. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12(29).

สันติ ป่าหวาย, อนันต์ ธรรมชาลัย และ สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล. (2561). แนวทางการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(พิเศษ) 115-133.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร สำนักวิชาการ. (2561). การส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนจากภาครัฐ. เอกสารวิชาการอิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563, จาก http://www.parliament.go.th/library.

อัมพร เจือจันทร์ และวรนุช แบบนา. (2562). การพัฒนาศักยภาพและการเรียนรู้เชิงธุรกิจของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 3(2), 13-24.

Kotas, M. (2015). Key success factors for social services organizations in Poland. Management, 19(2), 122-135.

Pal, P., and Dey, P. (2013). Process intensification in lactic acid production by three Stage membrane integrated hybrid reactor system. Chemical Engineering and Processing: Process Intensification, 64(2), 1-9.

Wronka, M. (2013). Analyzing the success of social enterprises-critical success factors Perspective. Retrived June 1, 2020, from http://www.toknowpress.net/ISBN/978-961-6914-02-4/papers/ML13-296.pdf