ผลกระทบของนโยบายการบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 ต่อการประเมิน มูลค่าหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

Main Article Content

วัฒนา ศรีถาวร
ยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลค่าของเงินลงทุนในบริษัทย่อยและเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามนโยบายบัญชีของมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ ระหว่างวิธีส่วนได้เสียและวิธีราคาทุนต่อการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ได้ประยุกต์ใช้ตัวแบบการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ของ Ohlson (1995) ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาอยู่ระหว่างปี 2560 – 2562 กลุ่มตัวอย่างมีทั้งสิ้น 513 ตัวอย่าง และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่ามูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้นมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาตลาดของหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสียมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับราคาตลาดของหลักทรัพย์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ว่านโยบายบัญชีสำหรับการบันทึกเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสียมีผลต่อการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ ในขณะที่เงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีส่วนได้เสีย เงินลงทุนในบริษัทย่อยและเงินลงทุนในบริษัทร่วมตามวิธีราคาทุนไม่มีผลต่อการประเมินมูลค่าหลักทรัพย์ ดังนั้นจากผลการศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ควรเปลี่ยนนโยบายบัญชีจากวิธีราคาทุนเป็นวิธีส่วนได้เสีย เนื่องจากเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสียส่งผลให้ราคาตลาดของหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยกานต์ หนูขวัญแก้ว. (2549). ผลกระทบของกำไรสุทธิตามวิธีส่วนได้เสียและวิธีราคาทุนที่มีต่อผลตอบแทนของหลักทรัพย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติมา อัครนุพงศ์. (2560) การเปรียบเทียบความเกี่ยวข้องในการกำหนดมูลค่าหลักทรัพย์ของกำไร มูลค่าตามบัญชี และกระแสเงินสด: หลักฐานเชิงประจักษ์จากบริษัทจดทะเบียนในกลุ่ม SET 100 ในประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 13(38), 95-114.

จักรกฤษณ์ มะโหฬาร และ สุมาลี นามโชต. (2563). ผลกระทบของโครงสร้างผู้ถือหุ้นที่มีต่อผลตอบแทนส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 2(3), 43-54.

ฉายรุ่ง ไชยกำบัง, ฉัตรรัชดา วิโรจน์รัตน์, ชัพวิชญ์ คำภิรมย์ และอนุชา พุฒิกูลสาคร. (2562). ความสัมพันธ์และผลกระทบของทักษะทางวิชาชีพบัญชี การตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ กับคุณภาพรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(3), 49-59.

ยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างมูลค่าตามบัญชีต่อหุ้น กำไรต่อหุ้น และเงินลงทุนในบริษัทย่อยกับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ. ใน งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2562, วันที่ 26 เมษายน 2562, 906-915. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ. (2563). ความเกี่ยวข้องในการอธิบายราคาหลักทรัพย์ของมูลค่าตามบัญชีและกำไรต่อหุ้น ภายใต้ TFRS 15 ก่อนและหลังการถือปฏิบัติในช่วงแรก: หลักฐานจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิชาชีพบัญชี, 16(52), 24-44.

วัฒนา ศรีถาวร และยศวินกาญจน์ กอบกาญจนพฤติ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างราคาหลักทรัพย์กับเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสีย (TAS 27) ของบริษัทจดทะเบียนไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(42), 274-285.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2559). มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 27 (ปรับปรุง 2559) เรื่อง งบการเงินเฉพาะกิจการ. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2563, จาก http://www.tfac.or.th/Article/Detail/78326.

สภาวิชาชีพบัญชี. (2560). คู่มืออธิบายมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 28 เรื่อง เงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้า. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2563, จาก http://www.tfac.or.th/upload/9414/GUWs4eGXRS.pdf.

สมศักดิ์ ประถมศรีเมฆ. (2558). การรายงานทางการเงิน: คู่มือเตรียมสอบประกาศนียบัตรการรายงานทางการเงินไทย. กรุงเทพฯ: เอ็นโฟร์ โปรพริ้น.

สุรชัย เอมอักษร. (2555). การบัญชีขั้นสูง 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

อนุวัฒน์ ภักดี และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2563). ความเกี่ยวข้องของข้อมูลบัญชีกับราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจ การเงิน : มุมมอง 15 ปี. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 9(1), 196-214.

อัญชลี วิรุฬห์จรรยา. (2556). ความสามารถของข้อมูลทางบัญชีในการอธิบายอัตราผลตอบแทนของหลักทรัพย์ : ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างวิธีส่วนได้เสียและวิธีราคาทุน. วารสารสมาคมนักวิจัย, 18(3), 91-101.

Barth, M., Beaver, W. & Landsman, W. (2000). The Relevance of Value Relevance Research. Journal of Accounting & Economics. 1-40.

Durán Vázquez, R., Lorenzo Valdés, A., & Valencia Herrera, H. (2007). Value relevance of the Ohlson model with Mexican data. Contaduría y administración, (223), 33-52.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2014). Multivariate data analysis. Pearson Education Limited.

ICAEW. (2015). The Effects of Mandatory IFRS adoption in the EU: A Review of Empirical Research. London: ICAEW. Retrieved from https://www.icaew.com/technical/financial-reporting/information-for-better-markets/ifbm-reports/the-effects-of-mandatory-ifrs-adoption-in-the-eu.

Kumari, S. S. (2008). Multicollinearity: Estimation and elimination. Journal of Contemporary research in Management, 3(1), 87-95.

Ohlson, J. A. (1995). Earnings, book values and dividends in security valuation. Contemporary Accounting Research, 11, 661–687.

Silvia, M. (2014). Intro to consolidation and group accounts – which method for your investment?. Retrieved March 16, 2021, from https://www.cpdbox.com/intro-to-consolidation-and-group-accounts.

Tabachnick, B. G., Fidell, L. S., & Ullman, J. B. (2013). Using multivariate statistics. Boston. MA: Pearson.

Zainal, D., Ibrahim, M. K., Kamarudin, K. A., & Kaur, J. (2005). The Relative Value Relevance of Earnings and Book Value in Malaysia and Singapore. International Conference on Effects of Globalisation on Financial Reporting, Istanbul, Turkey. Retrieved from https://www.researchgate.net/profile/Dalilawati_Zainal/publication/268280100_Chapter_The_Relative_Value_Relevance_of_Earnings_and_Book_Value_in_Malaysia_and_Singapore_in_Financial_Reporting_in_Malaysia_Further_Evidence/links/549a220c0cf2d6581ab158fe.pdf.