ความสัมพันธ์ของการรับรู้ความเป็นเลิศของการบริหารประสบการณ์ลูกค้าที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธุรกิจโฮมสเตย์ในประเทศไทย

Main Article Content

ดวงหทัย เต็งรัตนประเสริฐ
อารีรัตน์ ปานศุภวัชร
ธีรา เอราวัณ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และผลกระทบของการรับรู้ความเป็นเลิศของการบริหารประสบการณ์ลูกค้าที่มีต่อความจงรักภักดีของลูกค้าธุรกิจโฮมสเตย์ในประเทศไทย ใช้เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ที่ใช้บริการธุรกิจโฮมสเตย์ในประเทศไทย จำนวน 179 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ด้านการรับรู้ความสามารถในการให้บริการ ด้านทักษะการแก้ไขปัญหา และด้านการดึงดูดความต้องการของลูกค้า มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความจงรักภักดีของลูกค้า ดังนั้น เจ้าของโฮมสเตย์ควรให้ความสำคัญการรับรู้การบริหารประสบการณ์ลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการรับรู้ความสามารถในการให้บริการ ด้านทักษะการแก้ไขปัญหา และด้านการดึงดูดความต้องการของลูกค้า โดยนำกลยุทธ์ทางการตลาดมาใช้วิเคราะห์ความเข้าใจ ความต้องการของลูกค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ รวมถึงวางแผนกระบวนการการดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ลูกค้าด้วยความรวดเร็วและราบรื่น รวมถึงการกระตุ้นความต้องการของลูกค้า โดยนำเสนอรูปแบบการบริการที่มีความแปลกใหม่ โดดเด่น แตกต่าง มีความเป็นเอกลักษณ์ เพื่อให้โฮมสเตย์มีความน่าสนใจมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมสรรพากร. (2562). โฮมสเตย์ไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานโฮมสเตย์ไทย. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563, จาก https://www.rd.go.th/publish/44132.0.html?fbclid= IwAR3ntHmBqK68v68ZKiFWhv3dPQSMqW3xMboAEAcAHTXjssbkAvd-IHS_ncE .

กานต์สินี เจริญวรลักษณ์. (2559). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ธุรกิจที่ปรึกษาระบบ SAP บริษัทโอเอซิสคอนซัลติ้ง จำกัด Customer Relationship Management SAP Business Consulting OASIS CONSULTING CO., LTD. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กีรติ บันดาลสิน. (2558). การรับรู้คุณภาพบริการที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีในการใช้บริการของลูกค้าธนาคารออมสิน สาขาสำนักราชดำเนิน PERCEPTION OF SERVICE QUALITY AFFECTING TO CUSTOMER LOYALTY OF THE GOVERNMENT SAVING BANK, RATCHADAMNOEN BRANCH. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการประกอบการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัชชพันธ์ เล็กเจริญ. (2559). การตลาดเชิงประสบการณ์กับความภักดีของผู้บริโภคในการชมการแสดงทอล์คโชว์ Experiential Marketing and Loyalty of Consumer for Talk Show. วิทยานิพนธ์ศิลปาศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิเทศศาสตรและนวัตกรรม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ชุติญาภัค วาฤทธิ์ บุษยา วงษ์ชวลิตกุล และวรภัทรไพรรีเกรง. (2562). ปัจจัยหลักในการบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าบนสื่อสังคมออนไลน์ของอุตสาหกรรมโรงแรมในประเทศไทยKey Factors in Customer Relationship Management on Social Media of The Hotel Industry in Thailand. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 15(1). มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 122.

ธีรภัทร เจริญสุข. (2562). โฮมสเตย์ ทางออกพักใจ ธุรกิจใช้สมอง. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563, จาก http://www.voicetv.co.th/read/jXWyWTvaC.

เพ็ญพรรณ จารุสาร. (2557). การบริหารประสบการณ์ลูกค้าของห้องสมุดมหาวิทยาลัยวิจัยไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชวัฒน์ ศรทิพย์. (2550). การบริหารประสบการณ์ลูกค้าในธุรกิจรถยนต์ CUSTOMER EXPERIENCE MANAGEMENT IN AUTOMOBILE BUSINESS. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ศรัณย์ บุญประเสริฐ. (2563). ท่องเที่ยวชุมชน บนเส้นทางเรียนรู้. สืบค้นเมื่อ 8 เมษายน 2563, จาก http://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=4812&filename=index.

สมฤทัย หาญบุญเศรษฐ (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของลูกค้าในการใช้บริการระบบลิฟต์จอดรถยนต์อัตโนมัติ FACTORS INFLUENCING CUSTOMER LOYALTY TOWARD AUTO PARKING SYSTEM. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรุณกมล ประดิษฐบงกช และยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์ (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความภักดีของผู้บริโภคที่มีต่อร้านขายยาแผนปัจจุบันในเขตกรุงเทพมหานคร.

วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ. 8(2), 62.

อัคร์วิชญ์ เชื้ออารย์ และณักษ์ กุลิสร์. (2556 : 83). ปัจจัยที่ทีผลต่อความภักดีในแบรนด์ “Greyhound” Factors affecting “Greyhound” Brand Loyalty of Consumers in Bangkok Metopolis. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 4(2), 83.

Black, K (2006). Business statistics for contemporary decision marking. 4th Edition. USA : John wiley & Sons.

Hair, J., Anderson, R., Tatham, R., & Black, W. (1998). Multivariate Data Analysis. Technometrics Journal, 31(3).

Oliver, R.L. (1997). Whence Customer Loyalty?. Journal of Marketing, 63(4), 33-34.

Torres, E. N. (2014). Deconstructing service quality and customer satisfaction: Challenges and Directions for Future Research. Journal of Hospitality Marketing and Management, 23(6), 652–677.