การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังศักยภาพไร้ขีดจำกัดสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรุ่นใหม่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี

Main Article Content

สมศักดิ์ กิจธนวัฒน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังศักยภาพไร้ขีดจำกัดสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรุ่นใหม่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี โดยใช้หลักการจัดกิจกรรมตามแนวมนุษยนิยมและการเพิ่มพลังศักยภาพตนเองของแอนโทนี่ ร็อบบินส์ ใช้การวิจัยกึ่งทดลอง โดยรูปแบบการทดลองมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพลังศักยภาพไร้ขีดจำกัดโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ การเข้าร่วมสัมมนาเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “การพัฒนาพลังศักยภาพไร้ขีดจำกัดสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรุ่นใหม่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี” เป็นระยะเวลา 2 วันตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. และส่วนที่ 2 คือ การทำแบบฝึกหัดใน “โปรแกรม 30 วันสู่พลังศักยภาพไร้ขีดจำกัด” เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดพลังศักยภาพบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพลังศักยภาพบุคคลด้วยวิธีการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า คะแนนพลังศักยภาพบุคคลหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t-test = 6.2957*) และความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนพลังศักยภาพบุคคล หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า ค่าคะแนนพลังศักยภาพบุคคล หลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t-test = 2.3954*) โดยมีคะแนนพลังศักยภาพบุคคลสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 5 ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีความเป็นผู้นำร้อยละ 14.40 ด้านการมีวิสัยทัศน์ร้อยละ 12.95 ด้านการทำงานเป็นทีมร้อยละ 15.13 ด้านการมีทัศนคติด้านบวกร้อยละ 13.82 และด้านความสามารถในการปรับตัว ร้อยละ 10.00 ตามลำดับ การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพลังศักยภาพไร้ขีดจำกัดสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรุ่นใหม่ในเขตเทศบาลนครอุดรธานี ได้ใช้หลักการจัดกิจกรรมตามแนวมนุษยนิยมและการเพิ่มพลังศักยภาพตนเองของแอนโทนี่ ร็อบบินส์ ดังนี้ 1) การปลดปล่อยให้เป็นอิสระ 2) การสร้างพลังความเชื่อมั่น 3) การลงมือปฎิบัติ 4) การมีความสุขสนุกสนาน 5) การสร้างกำลังใจ 6) การเสริมแรง 7) การรู้จักตัวเอง 8) การสร้างอุนิสัย 9) การสร้างปฎิสัมพันธ์ และ 10) การมีส่วนร่วม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บุรัญชัย จงกลนี. (2560). สู่…อิสรภาพ. ขอนแก่น: เพ็ญพริ้นติ้ง.

สุวิทย์ มูลคำ. (2560). เรียนรู้สู่ครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ที.พี.พรินท์.

Covey, S. R. (2018). The 7 Habits of Highly Effective People. New York: ireside.

Harry, A., & Berry, H. (2000). NLP in 21 Days: A Complete Introduction and Training Program. Judy Piatkus (Publishers).

Maltz, M. (2000). Psycho - Cybernetics 2000. New York: Simon and Schuster.

Pease, A. (2017). Body Language. Australia: Harper-Collins Pty.

Robbins, A. (2016). Success Journal. San Diego: Robbins Research International.

Sayler,J. & Alexander, W.M. (1986). Curriculum Planning for Modern School. New York: Holt, Rinehart and Winston.

Steve, A. (2014). NLP: The New Science of Achievement. Nicholas Brealey Publishing.

Townsend, R. (1995). Learning Wealth. Australia: Murray Child & Company Pty.