สื่อดิจิทัลและกิจกรรมที่ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลด้านธรรมาภิบาล ของพนักงานองค์กรบริษัทมหาชน

Main Article Content

จตุพงศ์ ภูอาวุธ
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลด้านธรรมาภิบาลของพนักงาน 2) กิจกรรมที่ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลด้านธรรมาภิบาลของพนักงาน 3) ทิศทางความสัมพันธ์ระหว่างสื่อดิจิทัลและกิจกรรมที่ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลด้านธรรมาภิบาลของพนักงาน 4) รูปแบบการสื่อสารเชิงเหตุผลที่ส่งผลต่อการรับรู้ด้านธรรมาภิบาลของพนักงานพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยเป็นเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานองค์กรบริษัทมหาชน จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.950 และมีค่าความเชื่อมั่นรวมเท่ากับ 0.953 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น คือ สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ และค่าความโด่ง สถิติวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ผลการวิจัยพบว่าพนักงานส่วนใหญ่รับรู้ข้อมูลด้านธรรมาภิบาลจากกิจกรรมประเภท การรณรงค์ มากที่สุด (gif.latex?\bar{x} = 4.69) รองลงมาเป็นการทดสอบ (gif.latex?\bar{x} = 4.60) การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) (gif.latex?\bar{x} = 4.58) ตามลำดับ และการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) สามารถสรุปได้ว่าสื่อดิจิทัลและกิจกรรม ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลด้านธรรมาภิบาลของพนักงานองค์กรบริษัทมหาชน มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งยืนยันผลได้จากการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structure Equation Model: SEM) โดยพบว่าสัดส่วนค่าสถิติ gif.latex?x^{2} /df = 1.967, GFI = 0.969, AGFI = 0.931, NFI = 0.986, RMSEA = 0.046, RMR = 0.019 ซึ่งค่าทั้งหมดจากการวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) สอดคล้องกับเกณฑ์

Article Details

How to Cite
ภูอาวุธ จ., & วราธรไพบูลย์ ธ. (2022). สื่อดิจิทัลและกิจกรรมที่ส่งผลต่อการรับรู้ข้อมูลด้านธรรมาภิบาล ของพนักงานองค์กรบริษัทมหาชน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(1), 29–42. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2871
บท
บทความวิจัย

References

ฐาปนีย์ ธรรมเมธา. (2557). อีเลิร์นนิง: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ e-Learning: from theory to practice. นนทบุรี: สหมิตรพริ้งติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง.

บรรยงค์ โตจินดา. (2543). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.

รุ่งนภา พิตรปรีชา. (2552). การรณรงค์และผลิตงานโฆษณา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ศิธาพิสุทธิ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2559). การรับรู้ข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มแรงงานก่อสร้างต่อสื่อรณรงค์การเลิกสูบบุหรี่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการสื่อสารและการจัดการนิด้า, 2(1), 61-80.

สถาบันพระปกเกล้า. (2558). ดุลยอำนาจในการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน. สืบค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www.nesdc.go.th/article_attach/article_file_20200127094731.pdf.

Arbuckle, J. L. (2011). AMOS 20.0 users guide. Crawfordville, FL: Amos Development Corporation.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis: A global perspective. Upper Saddle River NJ: Pearson.

Tabachnick, B.G. & Fidell, L.S. (1996). Using Multivariate Statistics. 3rd ed. New York: HarperCollins.