ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อการสื่อสารทางการเรียน

Main Article Content

อารีย์ มยังพงษ์
เกื้อกูล ตาเย็น
ณรงค์ฤทธิ์ ธีระเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ 2) ศึกษาระดับการรับรู้คุณสมบัติของแอพพลิเคชั่นไลน์ เจตคติ และอิทธิพลทางสังคมที่มีต่อการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ และการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อการสื่อสารทางการเรียน 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อการสื่อสารทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 380 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า การใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ของนักศึกษาส่วนใหญ่มีประสบการณ์มากกว่า 5 ปี วัตถุประสงค์ในการใช้เพื่อสนทนากับเพื่อนในชั้นเรียน ระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้แต่ละครั้งน้อยกว่า 30 นาที จำนวนครั้งในการใช้งานโดยเฉลี่ย 6-10 ครั้งต่อวัน และส่วนใหญ่ใช้บนสมาร์ทโฟน นักศึกษามีความคิดเห็นต่อปัจจัยด้านการรับรู้คุณสมบัติของแอพพลิเคชั่นไลน์ ด้านเจตคติ ด้านอิทธิพลทางสังคมที่มีต่อการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ และการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อการสื่อสารทางการเรียนอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยทั้งสามด้านมีความสัมพันธ์กับการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อการสื่อสารทางการเรียนของนักศึกษาในระดับปานกลางและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Article Details

How to Cite
มยังพงษ์ อ., ตาเย็น เ., & ธีระเวช ณ. (2022). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์เพื่อการสื่อสารทางการเรียน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 4(1), 57–71. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2877
บท
บทความวิจัย

References

จันจิรา แก้วขวัญ. (2561). พฤติกรรมการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเหมาะสมของนักเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

จุฑารัตน์ ศราวณะวงศ์ และคณะ. (2560). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 10(2), 17.

ธนะวัฒน์ วรรณประภา. (2560). สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 11(1), 14.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS.กรุงเทพฯ: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

บุษบา ทาธง และคณะ. (2562). ผลของการจัดการเรียนการสอนโดยประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ต่อผลลัพธ์การเรียนรู้และความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์บัณฑิต ในรายวิชาการพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(1), 165.

มานน เซียวประจวบ และนิษา ศักดิ์ชูวงษ์. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ปัจจัยที่กำหนดการยอมรับเทคโนโลยีชำระเงินผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 1(1), 4.

วสุธิดา นุริตมนต์ และทรงวิทย์ เจริญกิจธนลาภ. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับเทคโนโลยีและความตั้งใจใช้บริการชำระเงินของผู้บริโภครุ่นใหม่ด้วยโปรแกรมประยุกต์คิวอาร์โค้ดผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 41.

วัชรวิทย์ นันจันที. (2558). LINE FOR INSTRUCTION ไลน์ ทางเลือกใหม่เพื่อการเรียนการสอน. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2563, จาก http://lineforinstruction.blogspot.com/

วิธวินท์ อัตถปรัชญาเมือง. (2562). สถิติผู้ใช้ของ LINE ประเทศไทยในปี 2019. สืบค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.thumbsup.in.th/line-th-stats-2019

ศักรินทร์ ตันสุพงษ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับแอพพลิเคชั่นไลน์. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการจัดการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). สรุปสาระสำคัญ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2562, จาก http://www.library.coj.go.th/Info/48341

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. (2562). สรุปสถิตินักศึกษาแยกตามคณะกลุ่มสังคม-วิทย์ ประจำปีการศึกษา 2562. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2562, จาก http://regis.rmutp.ac.th/wpcontent/uploads/2019/12/

Bogart, W. D., & Wichadee, S. (2020). Exploring Students’ Intention to Use LINE for Academic Purposes Based on Technology Acceptance Model. Retrieved January 15, 2020, from http://www.irrodl.org/index.php/irrodl/article/view/1894/3344.

Kivunja, C. (2015). Teaching, Learning and Assessment: Steps towards Creative Practice. Retrieved January 15, 2020, from https://www.scirp.org/reference/ReferencesPapers.aspx?ReferenceID=1614158.

White, A. R. (2017). User Acceptance of the Line Application in an Educational Context. In CreTech 5th International Conference on Creative Technology, pp. 19-21 Bangkok, Thailand.

White, C. M. (2012). Social media, Crisis communication, and Emergency management: Leveraging Web 2.0 Technologies. Boca Raton: CRC