การศึกษาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของบุคลากรข้ามเพศในธุรกิจที่พักแรมของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทยประสบกับปัญหาการลาออกและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สาเหตุหนึ่งเนื่องมาจากการขาดการจัดการความเท่าเทียม และความหลากหลายที่ดีของแผนกทรัพยากรมนุษย์ การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ต่อความเท่าเทียมของบุคลากรข้ามเพศ 2) ศึกษากลยุทธ์การจัดการความเท่าเทียมของแผนกทรัพยากรมนุษย์ในธุรกิจที่พักแรมของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือหลักคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็น ชายข้ามเพศและหญิงข้ามเพศที่ทำงานในธุรกิจที่พักแรม จำนวน 400 คน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา การศึกษาเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของธุรกิจที่แรม จำนวน 30 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้กลุ่มบุคลากรข้ามเพศรับรู้ต่อความเท่าเทียมในระดับน้อย ได้แก่ 1) การระบุเพศในใบสมัคร 2) การจำกัดคุณสมบัติทางเพศในบางตำแหน่งงาน 4) การได้รับสิทธิ์แสดงความสามารถหรือทักษะที่มีข้อจำกัดทางเพศ 5) การได้รับอนุญาตให้ใช้ห้องน้ำตามเพศสภาวะ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ชาย โพธิสิตา. (2549). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง.
Annette, P. (2018). Get smart: Paradoxes and possibilities in tourism, hospitality and event. In Conference Proceedings of the 28th CAUTHE 2018, pp. 111-120. Newcastle: Newcastle Business School, The University of Newcastle.
Conley, H., Kerfoot, D., & Thornley, C. (2011). Editorial: Gender Equality and Modernization of Public Sector Employment. Gender, Work and Organization, 18 (5), 439-442.
Fernando, B. (2009). The Gap between Male and Female Pay in The Spanish Tourism Industry. Tourism Management, 30(5), 638-649.
Harvey, D. F. (1996). Human Resource Management: An Experiential Approach. New York: Prentice Hall.
Mondy Wayne, R. (2005). Human Resource Management. New Jersey: Pearson.
Stone, R. J. (2002). Human resource Management. International Journal of Management Reviews, 4(1), 41-70.