แนวทางสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ธนากร ทองธรรมสิริ
โอชัญญา บัวธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประวัติความเป็นมา ข้อมูลทั่วไป เอกลักษณ์ และทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ 2) ศึกษาศักยภาพของเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในอำเภอเมือง และ 3) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเพื่อสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นในเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) กลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทย จำนวน 370 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชน จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์เป็นเมืองเก่ามีศักยภาพของพื้นที่ตรงตามองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว 5 ประการ ได้แก่ มีสิ่งดึงดูดใจ (Attraction) การเดินทางสะดวก (Accessibility) มีบริการที่พัก (Accommodation) มีกิจกรรมการท่องเที่ยว (Activities) และสิ่งอำนวยความสะดวก (Destination Amenities) ศักยภาพของเขตพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม จะต้องได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน ได้แก่การประชาสัมพันธ์ถึงสถานที่ภายในชุมชน ภาครัฐ และภาคเอกชนต้องช่วยเหลือด้านงบประมาณการจัดการทำนุบำรุง อาคาร สถานที่ ประชาชนในชุมชน ต้องมีการวางแผนกิจกรรมท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมในชุมชนให้เป็นที่รับรู้ของนักท่องเที่ยว และคนในชุมชนต้องช่วยรักษาสภาพชุมชนให้มีความสะอาด และให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ภายในชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2552). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ปริวัตร ปาโส (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิวัฒน์ชัย บุญยภักดิ์. (2550). ศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ศิริมาลย์ วัฒนา, อำนาจ เย็นสบาย, สาธิต ทิมวัฒนบรรเทิง และ จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า. (2559). ศักยภาพของชุมชนกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่, วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(1), 83-96.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา จังหวัดบุรีรัมย์. (2562). นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาชุมชนพื้นที่เมืองเก่าบุรีรัมย์. สืบค้นเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://buriram.mots.go.th/.

อังค์ริสา แสงจำนงค์. (2561). ความท้าทายของชุมชนเชิงมรดกทางวัฒนธรรมต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารกระแสวัฒนธรรม, 19(36), 82-91.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.

Liu, Y. D. (2012). Cultural events and cultural tourism development: Lessons from the European Capitals of Culture. European Planning Studies, 22(3), 498-514.

Mohammad, I.M. (2013). Identification of Tourist Potential Regions for Balanced Tourism Development in Pahalgam Tourist Destination of Kashmir Valley. Geography, 2(4), 189-190.

Tourism Western Australia. (2008). What is a backpacker. Retrieved February 16, 2020, from https://studylib.net/doc/18840246/what-is-a-backpacker---tourism-western-Australia.