แบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในการใช้แพลตฟอร์มตลาดอิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

นิษา ศักดิ์ชูวงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบจำลองปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในการใช้แพลตฟอร์มตลาดอิเล็กทรอนิกส์ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในการใช้แพลตฟอร์มตลาดอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี จำนวน 405 คน สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบ 5 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมานด้วยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้างตามความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรแฝงที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีในการใช้แพลตฟอร์มตลาดอิเล็กทรอนิกส์ประกอบไปด้วยการสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์ ภาพลักษณ์แบรนด์ และทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ โดยที่ทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ ภาพลักษณ์แบรนด์ และการสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการใช้งานแพลตฟอร์มตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ภาพลักษณ์แบรนด์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ การสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกต่อทัศนคติที่มีต่อแบรนด์และภาพลักษณ์แบรนด์ ทัศนคติที่มีต่อแบรนด์ ภาพลักษณ์แบรนด์เป็นตัวแปรส่งผ่านระหว่างการสื่อสารแบบปากต่อปากอิเล็กทรอนิกส์และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมการใช้งานแพลตฟอร์มตลาดอิเล็กทรอนิกส์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ. (2564). จุรินทร์ดันแผน e-Commerce ตั้งเป้าปี 2565 พาณิชย์นำสร้างรายได้กว่า 5.35 ล้านล้านบาท. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564, จาก https://gnews.apps.go.th/news?news=76368

ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์. (2564). ประเทศไทยได้อะไร จากเทศกาล 9:9 10:10 11:11 12:12. ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2564, จาก https://www.prachachat.net/columns/news-589871.

นีลเส็น (2556). เผยคนไทย 97% ชอบลองของใหม่. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/489193.

Elseidi, R. I. and El-Baz, D. (2016). Electronic word of mouth effects on consumers’ brand attitudes, brand image and purchase intention: an empirical study in Egypt. The Business and Management Review, 7(5), 268-276.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Structural Equation Models with Unobservable Variables and Measurement Error: Algebra and Statistics. Journal of Marketing Research, 18, 382-388.

Hair, Jr., J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis: A Global Perspective. 7th Ed. Pearson Education, Upper Saddle.

Henseler, J., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2015). A new criterion for assessing discriminant validity in variance-based structural equation modeling. Journal of the Academy of Marketing Science, 43(1), 115–135.

Intage. (2020). นักศึกษาไทย (U-Gen) ไลฟ์สไตล์-การเงิน-กิจกรรม-สื่อเข้าถึงได้มากสุด-โฆษณาแบบไหนโดนใจ. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก https://www.intage-thailand.com/.

iPrice. (2017). พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในประเทศไทย 2017. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก https://ipricethailand.com/.

Kudeshia, C. & Kumar, A. (2017). Social eWOM : does it affect the brand attitude and purchase intention of brands?. Management research review. Bingley: Emerald.

Luong, B. D., Vo, T. H. G. & Le, K. H. (2017). The impact of electronic word of mouth on brand image and buying decision: An empirical study in Vietnam tourism. International Journal of Research Studies in Management, 6(1), 53-63.

Meysam, F., Mohammad, R. J., Mehdi, E. & Mehdi, M. (2012). The influence of online word of mouth communications on tourists’ attitudes toward Islamic destinations and travel intention: Evidence from Iran. African Journal of Business Management. 38(6), 10381-10388.

Nalisa (2021). ปี 2564 ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ คือดาวรุ่งที่เติบโต โซเชียลคอมเมิร์ซ-มาร์เก็ตเพลส หาสารพัดกลยุทธ์มาสู้. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2564, จาก https://marketeeronline.com/archives/204305.

Norman, A. A. P. (2016). The Influence Of E-word Of Mouth Communication on Customer Purchasing Intentions Through Brand Image of Smartfren Andromax In Indonesia. e-Proceeding of Management. 3(1), 407-413.

Rahman, M. A., Abir, T., Yazdani, D. M. N., Hamid, A. B. A., & Al Mamun, A. (2020). Brand Image, eWOM, Trust and Online Purchase Intention of Digital Products among Malaysian Consumers. Journal of Xi'an University of Architecture & Technology, 12(3), 4935-4946.

Ramesh, K., Saha, R., Goswami, S., & Dahiya, R. (2018). Consumer's response to CSR activities: Mediating role of brand image and brand attitude. Corporate Social Responsibility and Environmental Management, 26(2), 377-387.

Rayport, J. (1996). The Virus of Marketing. Fast Company Magazine, December 31.

Winarta, V., Rahayu, S. & Kusumawardhany, P.A. (2017). eWOM effect on Intention to visit RAJA AMPAT PAPUA. (Theory of Planned Behavior). Faculty of Business and Economic: Department of Management.

Winarta, V., Rahayu, S., & Kusumawardhany, P.A. (2017). EWOM EFFECT ON INTENTION TO VISIT RAJA AMPAT PAPUA (Theory of Planned Behavior). In Proceeding 14th International Annual Symposium on Management. Faculty of Business and Economic: Departement of Management; Surabaya.

Yodpram, S. & Intalar, N. (2020). Effects of eWOM, Brand Image, and Brand Attitude on Consumer's Willingness to Pay in the. Low-Cost Airline Industry in Thailand. PalArch’s Journal of Archaeology of Egypt, 17(7): 12903-12924.