ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(7Ps)ที่มีผลต่อการตัดสินใจชื้ออาหารปรุงสด พร้อมทานในร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(7Ps)ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารปรุงสดพร้อมทาน ในร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพ จำนวนผู้ร่วมอาศัย อาชีพ และรายได้ ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าอาหารปรุงสดพร้อมทาน ในร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(7Ps)ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อออาหารปรุงสดพร้อมทาน ในร้านสะดวกซื้อในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายวิธี (Multi-stage Sampling) แบ่งเป็น 6 กลุ่มโดยแบ่งเขตตามการบริหารงานในเขตกรุงเทพมหานคร นำมาจับสลากเลือกเขตโดยนำเขตทั้งหมดใน 6 กลุ่มมาจับสลากเลือกเขตกลุ่มละ 1 เขต (Simple random sampling) ทำการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Proportional Stratified Random Sampling) ตามจำนวนสัดส่วนประชากรในแต่ละเขต และ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive selection) แบบสอบถามมุ่งเน้นการเก็บข้อมูลเฉพาะผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป เก็บรวบรวมข้อมูลโดยโดยใช้ QR Code Google Forms แล้วให้ทำแบบสอบถามผ่านโทรศัพท์มือถือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างตัวอย่า 2 กลุ่ม (t-test) และ ทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง ที่มีมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป (One-way ANOVA) โดยกรณีที่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการทดสอบเป็นรายคู่ที่ระดับนัยสำคัญร้อยละ 0.05 หรือระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โดยใช้วิธี Fisher’s Least-Significant Difference (LSD) และทดสอบสมมติฐานของการวิจัยโดยการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณแบบขั้นตอนเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม (Stepwise Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลในด้านเพศ อายุ สถานภาพ จำนวนผู้อยู่อาศัย การศึกษาที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้ออาหารปรุงสดพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ ในเขตกรุงเทพมหานครไม่แตกต่างกัน ยกเว้นปัจจัยส่วนบุคคลด้านอาชีพที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้ออาหารปรุงสดพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อ ในเขตกรุงเทพมหานครแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(7Ps) ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารปรุงสดพร้อมทานในร้านสะดวกซื้อในพื้นที่กรุงเทพมหานคร มีทั้งหมด 5 ด้าน คือ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านกระบวนการ ด้านบุคคล ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้
ไม่ใช่ความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้จัดทำ บรรณาธิการ กองบรรณาธิการ และคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ความรับผิดชอบด้านเนื้อหาและการตรวจร่างบทความแต่ละเรื่องเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนบทความแต่ละท่าน
References
กนกวรรณ คงธนาคมธัญกิจ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกซื้ออาหารเพื่อสุขภาพในรูปแบบพร้อมทานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กัญญาภัทร เสน่ห์หา. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ (7Ps) ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้บริโภคในจังหวัดปทุมธานี กรณีศึกษาร้านใส่ใจคุณ. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
ข้อมูลประชากรสำนักทะเบียนกลาง. (2566). ประชากรทะเบียนราษฎร์ จำแนกรายเพศปีงบประมาณ 2566 เขตสุขภาพที่1. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2566, จาก http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/region?year=2023&rg=01
จิราภา ยังลือ. (2562). กระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของคน วัยทำงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ฉลองศักดิ์ สุขใจธรรม Marketeer Team. (2560). Convenience Store ยุคนี้ สะดวกซื้อ ไม่พอต้อง สะดวกอิ่ม ถึงจะ ปัง. สืบค้นเมื่อ 09 เมษายน 2566, จาก https://marketeeronline.co/archives/20668
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
บุญชัย วงศ์พรชัย. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(7Ps)ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อเบเกอรี่อบสดในร้านสะดวกซื้อพื้นที่กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
ปรมัตถ์ คงแก้. (2563). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด(7Ps)ของร้านอาหารพื้นบ้านภากใต้ ในอำเภอหาดใหญ่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยารามคำแหง
พิภักดิ์ จรูญลักษณ์คนา. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารญี่ปุ่นทานเย็นในร้านสะดวกซื้อของผู้บริโภควัยทำงานในเขตกรุงเทพฯ และเขตปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วัชระ สุขเกษม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแช่เย็นพร้อมรับประทานผ่านร้านสะดวกซื้อของกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2565). แนวโน้มธุรกิจ อุตสาหกรรมปี 2565-2567 อุตสาหกรรมอาหารพร้อมทาน. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2566, จาก https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/food-beverage/ready-to-eat-food/io/io-ready-to-eat-food-2022-2024
อริยชัย สังข์สุวรรณ. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจเข้าใช้บริการร้านอาหารลุงใหญ่ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
Cochran, W. G. (1997). Infinite population. Sampling Techniques, John Wiley & Sons.
Intelligence™Industry Reports. (2023).North America Ready-to-Eat Food Market Size & Share Analysis - Growth Trends & Forecasts (2024-2029) สืบค้น เมื่อ 27 กันยายน 2566, จาก https://www.mordorintelligence.com/industry-reports/north-america-ready-to-eat-food-market
L.E.K. Consulting (2023). Finding Success with Fresh Prepared Foods. สืบค้น เมื่อ 20 ธันวาคม 2566, จาก https://www.lek.com/insights/con/us/ei/finding-success-fresh-prepared-foods New York.