ผลกระทบของศักยภาพการทำงานแบบใหม่ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในสถานการณ์ COVID-19

Main Article Content

บุญช่วง ศรีธรราษฎร์
สุพร แก้วสะอาด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาศักยภาพการทำงานแบบใหม่ ประสิทธิภาพการทำงาน และทดสอบผลกระทบของศักยภาพการทำงานแบบใหม่ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในสถานการณ์ COVID-19 โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนักบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจำนวน 151 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า นักบัญชีบริษัท มีความคิดเห็นเกี่ยวกับศักยภาพการทำงานแบบใหม่โดยรวม อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านความรู้ในเทคโนโลยี ด้านความเป็นผู้นำ และด้านความคิดสร้างสรรค์ และนักบัญชีบริษัท มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม และเป็นรายด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการทำงานเชื่อถือได้ ด้านผลงานได้มาตรฐาน และด้านงานสำเร็จทันเวลา จากการทดสอบผลกระทบ พบว่า 1) ศักยภาพการทำงานแบบใหม่ ด้านความรู้ในเทคโนโลยี มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม (Beta=0.265, p<0.05) 2) ศักยภาพการทำงานแบบใหม่ ด้านความคิดสร้างสรรค์ มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม (Beta =0.403, p<0.05) และ 3) ศักยภาพการทำงานแบบใหม่ ด้านความเป็นผู้นำ มีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการทำงานโดยรวม (Beta =0.207, p<0.05)

Article Details

How to Cite
ศรีธรราษฎร์ บ., & แก้วสะอาด ส. (2022). ผลกระทบของศักยภาพการทำงานแบบใหม่ที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชี บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในสถานการณ์ COVID-19. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 3(6), 17–29. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/MSJournal/article/view/2956
บท
บทความวิจัย

References

กานดา แซ่หลิ่ว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในจังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เขมิกา ทองเรือง. (2560). ภาวะผู้นำเพื่อการบริหารสำนักงานสมัยใหม่. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 659-671.

จิตรลดา ศรีแก้ว และคณะ. (2563). การศึกษาศักยภาพในการปฏิบัติงานทางการบัญชีของผู้ทำบัญชีที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในเขตนิคม และเขตประกอบการอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของวิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7, หน้า 187-198. นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

จิราภรณ์ ปะจันทะสี. (2559). ผลกระทบของสมรรถนะการสอบบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อประสิทธิภาพการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากรในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชัยนรินทร์ วีระสถาณิชย์. (2548). Introduction to International Education Standards. สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. 12(2), 3-5.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). รายชื่อบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.set.or/th/company/company-list.html.

นิตยา คำมณี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างศักยภาพด้านระบบเทคโนโลยีสาระสนเทศทางการบัญชีเชิงกลยุทธ์กับประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของสหกรณ์ออมทรัพย์ในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

บุญช่วง ศรีธรราษฎร์ และอารยรัตน์ ชารีแสน. (2563). อิทธิพลของความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรมที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 15(1), 51-63.

เปรมารัช วิลาลัย, สุพรรณรัตน์ มาศรัตน์, ยงยศ คงธนารัตน์, เพ็ญนภา อุณหศิริกุล และธารารัตน์ หน่ายทุกข์. (2560). ปัญญาประดิษฐ์กับนักบัญชีดิจิทัล. ใน รายงานการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ครั้งที่ 5, หน้า 253-258. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

รวิวรรณ ยอดจันทร์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการปรับเปลี่ยนกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจธนาคารพาณิชย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัชนี ตรีสุทธิวงษา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในการทำงานความจงรักภักดีต่อองค์กรและประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรัชฐนันป์ เครือวรรณ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการวางแผนการปฏิบัติงานกับคุณภาพการทำงานของพนักงานสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วารสารสารคามมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 10(1), 58-77.

ศักดิ์ดา ศิริภัทรโสภณ. (2563). โรคระบาดไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (COVID-19) ผลกระทบต่อวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยและกลยุทธ์ในการฟื้นฟู. วารสารสมาคมนักวิจัย, 5(2), 10-30.

ศิรประภา ศรีวิโรจน์ และนัทมนันท์ บุญถนอมตีรัตน์. (2563). มาตรการผ่อนปรนชั่วคราวด้านการบัญชีในสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิค 19. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชียฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 10(2), 77-86.

สุทธิดา วุฒิเศลา. (2556). ผลกระทบของภาวะผู้นำทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อภาพการปฏิบัติติงานของนักบัญชีธุรกิจ SMEsในตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุมินตรา สุขสุวรรณ วีรยา ภัทรอาชาชัย และมณิสรา สนั่นเอื้อเม็งไธสง. (2562). ผลกระทบของความชำนาญในวิชาชีพที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานบริษัท ซีอาร์ ซี ไทวัสดุ จำกัดในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบัญชีและการจัดการ, 11(2), 56-63.

สุมินทร เบ้าธรรม. (2558). วิจัยทางการบัญชี. ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

Aaker, A., Kumar, V., & Day, C.S. (2001). Marketing Research. 7thed. New York: John Wiley and Son.

Black, K. (2006). Business Statistics for Contemporary Descision Making. 7th ed. USA: John Wiley and Sons, Inc.

Cronbach, L. J. (1954). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Grossi, G., Ho, A. & Joyce, P. G. (2020). Stretching the public purse: Budgetary responses to a global pandemic. Journal of Public Budgeting, Accounting & Financial Management. Retrieved from https://www.emeraldgroup-publishingspecial-issue-stretching-public-purse-budgetary-responses-a

Northhouse, P. G. (2013). Leadership: theory and practice. 6th ed. Thousand Oaks, CA: SAGE Publication, Inc.

Nunnally, J.C. and I.H. Bernstein. (1994). Psychometric theory. New York: McGraw Hill.